ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

หน้าที่ ๓๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

                                                                 ๒. ปัญจัตตยสูตร

คัดค้านแม้สมณพราหมณ์พวกที่บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้ว เหล่านั้น คัดค้านแม้สมณพราหมณ์พวกที่บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี สัญญาก็มิใช่ว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้แม้ทั้งหมด ย่อมถือการเวียนว่ายในชาติหน้า กล่าวยืนยันความหวังอย่างเดียวว่า ‘เราละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นเช่นนี้ เราละโลกนี้ ไปแล้ว จักเป็นเช่นนี้’ พ่อค้าไปค้าขายย่อมมีความหวังอย่างนี้ว่า ‘เราจักมีกำไรจากการค้าเท่านี้ เพราะการค้าขายเที่ยวนี้ เราจักได้กำไรเท่านี้’ ฉันใด สมณพราหมณ์เหล่านี้ก็ฉันนั้น เหมือนกัน เห็นจะหวังกำไรกลับคืนเหมือนพ่อค้าว่า ‘เราละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นเช่นนี้ เราละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นเช่นนี้’ ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตรู้ทิฏฐินี้นั้นเป็นอย่างดี สมณพราหมณ์พวกที่บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่เกิดขึ้นของ สัตว์ที่มีอยู่ เป็นผู้กลัวสักกายะ๑- รังเกียจสักกายะ วนเวียนไปตามสักกายะอยู่นั่นเอง เปรียบเหมือนสุนัขที่เขาใช้โซ่ล่ามผูกไว้ที่เสาหรือที่หลักอย่างมั่นคง ย่อมวิ่งวน เสาหรือหลักนั่นเอง ฉันใด สมณพราหมณ์เหล่านี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้กลัว สักกายะ รังเกียจสักกายะ วนเวียนไปตามสักกายะอยู่นั่นเอง สิ่งนี้นั้นยังถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าหยาบ และความดับของสิ่งที่ถูกปัจจัย ปรุงแต่งก็มีอยู่ ตถาคตรู้ว่า ‘ความดับนี้มีอยู่’ เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดสิ่งที่ถูก ปัจจัยปรุงแต่งนั้น จึงล่วงพ้นสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ สักกายะ แปลว่า กายของตน มีความหมายหลายนัย คือ หมายถึงขันธ์ ๕ มีรูปขันธ์เป็นต้น ซึ่งมีอยู่ @โดยสภาวะ (ขุ.ม.อ. ๑๓/๑๖๓) หมายถึงอุปาทานขันธ์ ๕ (ที.ปา.อ. ๓/๓๐๕/๑๘๖, องฺ.จตุกฺก.อ. @๒/๓๓/๓๓๓, ม.มู.ฏีกา ๑/๖/๑๑๒, ม.อุ.ฏีกา ๓/๒๕/๒๗๐) หมายถึงเตภูมิกธรรม (ม.อุ.อ. ๓/๒๕/๑๔, @องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๔/๑๐๕, ๖๑/๑๔๗, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๕๔/๒๕๔ (อภิ.สํ. (แปล) ๓๔/๑๒๒๕/๓๑๐, @๑๕๕๕/๓๗๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๓๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=14&page=35&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=14&A=1011 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=14&A=1011#p35 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 14 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_14 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14 https://84000.org/tipitaka/english/?index_14



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]