ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

หน้าที่ ๓๙๕-๓๙๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

                                                                 ๙. อรณวิภังคสูตร

บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ยังละภวสังโยชน์ไม่ได้ ชน เหล่านั้นทั้งหมดจึงมีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ เขาเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลยังละภวสังโยชน์ไม่ได้ แม้ภพ ก็เป็นอันละไม่ได้‘ ชื่อว่าแสดงธรรมเท่านั้น บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ละภวสังโยชน์ได้แล้ว ชน เหล่านั้นทั้งหมดจึงไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความ เร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติถูก’ เขาเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ก็เมื่อบุคคลละภวสังโยชน์ได้แล้ว แม้ภพก็เป็นอันละได้แล้ว’ ชื่อว่าแสดงธรรมเท่านั้น ภิกษุทั้งหลาย การไม่ยกย่อง การไม่ตำหนิ และการแสดงธรรม เป็นอย่างนี้ คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุพึงรู้จักการยกย่องและการตำหนิ ครั้นรู้แล้ว ไม่พึง ยกย่อง ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงธรรมเท่านั้น’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
กามคุณ ๕ ประการ
[๓๒๘] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุพึงรู้การตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว พึง ประกอบเนืองๆ ซึ่งความสุขในภายใน’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการ นี้ กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ... ๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ... ๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ... ๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๙๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

                                                                 ๙. อรณวิภังคสูตร

สุขโสมนัสที่อาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้เกิดขึ้น เราเรียกว่า สุขอันเกิดจาก กาม เป็นสุขที่เกิดแต่เมถุนธรรม๑- เป็นสุขของปุถุชน ไม่ใช่สุขของพระอริยะ เรากล่าวว่า ‘ภิกษุไม่พึงเสพ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้มาก พึงกลัวสุขชนิดนี้’ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย แล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะ วิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิต เป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ ... บรรลุ ตติยฌาน ... บรรลุจตุตถฌาน ... สุขนี้เราเรียกว่า เนกขัมมสุข เป็นสุขอันเกิด จากความสงัด เป็นสุขเกิดจากความสงบ เป็นสุขเกิดจากการตรัสรู้ เรากล่าวว่า ‘ภิกษุพึงเสพ พึงเจริญ พึงทำให้มาก ไม่พึงกลัวสุขชนิดนี้’ คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุพึงรู้การตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว พึงประกอบ เนืองๆ ซึ่งความสุขในภายใน’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้ [๓๒๙] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงกล่าวความลับ ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกิน ต่อหน้า’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น ภิกษุรู้ความลับอันใด ที่ไม่เป็นความจริง ไม่เป็น ความแท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่พึงกล่าวความลับนั้นเป็นอันขาด แม้รู้ว่า ความลับอันใดที่เป็นความจริง เป็นความแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็พึง สำเหนียกเพื่อจะไม่กล่าวความลับนั้น และพึงรู้ความลับอันใดเป็นความจริง เป็น ความแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น ภิกษุพึงรู้กาลเพื่อจะกล่าวความลับนั้น ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น ภิกษุรู้คำล่วงเกินต่อหน้าอันใด ที่ไม่เป็นคำจริง ไม่เป็นคำแท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้านั้นเป็น อันขาด แม้รู้ว่าคำล่วงเกินต่อหน้าอันใด ที่เป็นคำจริง เป็นคำแท้ แต่ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์ ก็พึงสำเหนียกเพื่อจะไม่กล่าวคำล่วงเกินต่อหน้านั้น และพึงรู้คำ ล่วงเกินต่อหน้าอันใดที่เป็นคำจริง เป็นคำแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น ภิกษุพึงรู้กาลเพื่อจะกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้านั้น @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๔ (เทวทหสูตร) หน้า ๒๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๙๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๓๙๕-๓๙๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=14&page=395&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=14&A=11595 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=14&A=11595#p395 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 14 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_14 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14 https://84000.org/tipitaka/english/?index_14



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๙๕-๓๙๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]