ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

หน้าที่ ๑๙๓-๑๙๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]

                                                                 ๒. ทุติยวรรค ๖. ปัตตสูตร

๖. ปัตตสูตร
ว่าด้วยเรื่องบาตร
[๑๕๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับ เอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ที่เกี่ยวกับอุปาทานขันธ์ ๕ ภิกษุเหล่านั้นต่างใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมา ด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่ ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระสมณโคดมนี้ทรงชี้แจงให้ภิกษุ ทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่เกี่ยวกับอุปาทานขันธ์ ๕ ภิกษุเหล่านั้น ต่างใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่ ทางที่ ดีเราพึงเข้าไปหาพระสมณโคดมถึงที่ประทับ เพื่อให้บริษัทหลงเข้าใจผิดเถิด” สมัยนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้วางบาตรส่วนใหญ่ไว้ในที่กลางแจ้ง ลำดับนั้น มาร ผู้มีบาปแปลงกายเป็นโคพลิพัทเดินไปยังที่วางบาตร ภิกษุรูปหนึ่งจึงบอกกับภิกษุ อีกรูปหนึ่งว่า “ภิกษุ ภิกษุ โคพลิพัทนั่นกำลังจะทำบาตรแตก” เมื่อภิกษุนั้นพูด อย่างนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “นั่นไม่ใช่โคพลิพัท นั่นคือมารผู้มีบาป มาเพื่อลวงให้เธอหลงเข้าใจผิด” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า อริยสาวกย่อมเบื่อหน่ายรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ อย่างนี้ว่า ‘เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ของเรา’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๙๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]

                                                                 ๒. ทุติยวรรค ๗. อายตนสูตร

แม้มารและเสนามารแสวงหาอยู่ในที่ทุกแห่ง ก็ไม่พบอริยสาวกผู้เบื่อหน่ายแล้วอย่างนี้ ผู้มีอัตภาพอันเกษม และล่วงพ้นสังโยชน์ทั้งปวง ลำดับนั้น มารผู้มีบาป ฯลฯ จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
ปัตตสูตรที่ ๖ จบ
๗. อายตนสูตร
ว่าด้วยอายตนะ ๖
[๑๕๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้ อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ที่เกี่ยวกับผัสสายตนะ ๖ ภิกษุเหล่านั้นต่างใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่ ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระสมณโคดมนี้แลทรงชี้แจงให้ ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่เกี่ยวกับผัสสายตนะ ๖ ภิกษุเหล่านั้น ต่างใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่ ทางที่ ดีเราพึงเข้าไปหาพระสมณโคดมถึงที่ประทับ เพื่อให้บริษัทหลงเข้าใจผิดเถิด” ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้ร้องเสียงดัง น่าสะพรึงกลัว ประดุจแผ่นดินจะถล่มในที่ใกล้พระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น ภิกษุ รูปหนึ่งจึงกล่าวกับภิกษุอีกรูปหนึ่งอย่างนี้ว่า “ภิกษุ ภิกษุ แผ่นดินนี่จะถล่มทลาย เสียละกระมัง” เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ แผ่นดินนี้ไม่ถล่มหรอก ภิกษุทั้งหลาย นั้นคือมารผู้มีบาป มาเพื่อลวงให้ พวกเธอหลงเข้าใจผิด” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๙๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]

                                                                 ๒. ทุติยวรรค ๘. ปิณฑสูตร

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งสิ้นนี้ เป็นโลกามิสอันแรงกล้า ชาวโลกพากันหมกมุ่นอยู่ในอารมณ์เหล่านี้ ส่วนสาวกของพระพุทธเจ้า มีสติ ข้ามพ้นโลกามิสนั้น ทั้งข้ามพ้นบ่วงแห่งมารได้แล้ว รุ่งเรืองอยู่ดุจดวงอาทิตย์ ฉะนั้น ลำดับนั้น มารผู้มีบาป ฯลฯ จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
อายตนสูตรที่ ๗ จบ
๘. ปิณฑสูตร
ว่าด้วยเรื่องบิณฑบาต
[๑๕๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อปัญจ- สาลา แคว้นมคธ สมัยนั้น ที่หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อปัญจสาลา มีงานนักขัตฤกษ์ แจกของแก่พวกเด็กๆ ครั้นรุ่งเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตร และจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อปัญจสาลา สมัยนั้น พราหมณคหบดีชาวปัญจสาลาถูกมารผู้มีบาปเข้าดลใจ ด้วยประสงค์ว่า “พระ- สมณโคดมอย่าได้อาหารบิณฑบาตเลย” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อปัญจสาลา เพื่อบิณฑบาตด้วยบาตรเปล่าอย่างใด ก็เสด็จกลับมาด้วยบาตรเปล่าอย่างนั้น ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “สมณะ ท่านได้อาหารบิณฑบาตบ้างไหม” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มารผู้มีบาป ท่านทำให้เราไม่ได้อาหารบิณฑบาต มิใช่หรือ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๙๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]

                                                                 ๒. ทุติยวรรค ๙. กัสสกสูตร

มารผู้มีบาปกราบทูลว่า “ถ้าอย่างนั้น ขอพระผู้มีพระภาคจงเสด็จเข้าไปยัง หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อปัญจสาลาเพื่อบิณฑบาตใหม่อีกครั้ง ข้าพระองค์จักกระทำ พระผู้มีพระภาคให้ได้อาหารบิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มารขัดขวางตถาคต ได้ประสบสิ่งมิใช่บุญแล้ว มารผู้มีบาป ท่านเข้าใจว่า ‘บาปย่อมไม่ให้ผลแก่เรา’ อย่างนั้นหรือ พวกเราไม่มีกิเลสเครื่องกังวล อยู่สุขสบายจริงหนอ พวกเราจักมีปีติเป็นภักษา ดุจเทพชั้นอาภัสสร ฉะนั้น ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต ทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
ปิณฑสูตรที่ ๘ จบ
๙. กัสสกสูตร
ว่าด้วยมารแปลงกายเป็นชาวนา
[๑๕๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับ เอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ที่ประกอบด้วยนิพพาน ภิกษุเหล่านั้นต่างใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมา ด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่ ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระสมณโคดมนี้ทรงชี้แจงให้ภิกษุ ทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยนิพพาน ฯลฯ ทางที่ดีเรา พึงเข้าไปหาพระสมณโคดมถึงที่ประทับเพื่อลวงบริษัทให้หลงเข้าใจผิดเถิด” ครั้งนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๙๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑๙๓-๑๙๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=15&page=193&pages=4&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=15&A=5172 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=15&A=5172#p193 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 15 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_15 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15 https://84000.org/tipitaka/english/?index_15



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๙๓-๑๙๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]