ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

หน้าที่ ๒๖๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]

                                                                 ๒. ทุติยวรรค ๕. ปรินิพพานสูตร

ผู้เข้าถึงสภาวะตามเป็นจริง ผู้บรรลุพลธรรม๑- ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบเช่นนี้ ก็ยังเสด็จปรินิพพานได้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพาน ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสคาถา พร้อมกับ การเสด็จปรินิพพานว่า สังขารทั้งหลายล้วนไม่เที่ยง มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความสงบระงับสังขารเหล่านั้นเป็นความสุข เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพาน ท่านพระอานนท์ได้กล่าวคาถา พร้อม กับการเสด็จปรินิพพานว่า เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระอาการอันล้ำเลิศทุกอย่าง๒- เสด็จปรินิพพานแล้ว ในกาลนั้น ได้เกิดเหตุน่าอัศจรรย์ ขนพองสยองเกล้า เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพาน ท่านพระอนุรุทธะได้กล่าวคาถา พร้อมกับ การเสด็จปรินิพพานว่า ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ของพระผู้มีพระภาคผู้มีพระทัยมั่นคง ผู้คงที่ ไม่มีแล้ว @เชิงอรรถ : @ บรรลุพลธรรม หมายถึงทรงมีพระกำลังอันเกิดจากญาณ ๑๐ ที่เรียกว่า ทสพลญาณ หรือ ตถาคตพละ @(ที.ม.อ. ๒๒๐/๒๐๒) @ มีพระอาการอันล้ำเลิศทุกอย่าง หมายถึงทรงมีเหตุอันล้ำเลิศทุกอย่างมีศีล เป็นต้น (ที.ม.อ. ๒๒๓/๒๐๓, @ที.ม.ฏีกา ๒๒๓/๒๓๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๖๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๖๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=15&page=261&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=15&A=7026 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=15&A=7026#p261 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 15 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_15 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15 https://84000.org/tipitaka/english/?index_15



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๖๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]