ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

หน้าที่ ๖๑-๖๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]

                                                                 ๕. อาทิตตวรรค ๘. เชตวนสูตร

๗. วนโรปสูตร
ว่าด้วยการปลูกป่า
[๔๗] เทวดาทูลถามว่า บุญย่อมเจริญ ทั้งกลางวันและกลางคืน ตลอดกาลทุกเมื่อ แก่ชนเหล่าไหน ชนเหล่าไหนดำรงอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีลแล้ว ย่อมไปสู่สวรรค์ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ชนเหล่าใดปลูกสวนอันน่ารื่นรมย์๑- ปลูกป่า สร้างสะพาน ขุดสระน้ำ บ่อน้ำ และให้ที่พักอาศัย บุญย่อมเจริญแก่ชนเหล่านั้น ทั้งกลางวันและกลางคืนตลอดกาลทุกเมื่อ ชนเหล่านั้นดำรงอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีลแล้ว ย่อมไปสู่สวรรค์อย่างแน่นอน
วนโรปสูตรที่ ๗ จบ
๘. เชตวนสูตร
ว่าด้วยพระเชตวันวิหาร
[๔๘] อนาถบิณฑิกเทพบุตรได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า พระเชตวันนี้นั้นมีหมู่ฤาษีพำนักอยู่ พระผู้เป็นธรรมราชาก็ประทับอยู่ เป็นสถานที่ให้เกิดปีติแก่ข้าพระองค์ @เชิงอรรถ : @ สวนอันน่ารื่นรมย์ หมายถึงสวนไม้ดอกไม้ผลอันน่ารื่นรมย์ (สํ.ส.อ. ๑/๔๗/๘๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๖๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]

                                                                 ๕. อาทิตตวรรค ๙. มัจฉริสูตร

การงาน ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอันสูงสุด ๑ ๑- สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยธรรม ๕ ประการนี้ หาใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือด้วยทรัพย์ไม่ เพราะเหตุนั้นแหละ คนฉลาดเมื่อเห็นประโยชน์ตน ควรเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคายเถิด เพราะเมื่อเลือกเฟ้นเช่นนี้ ย่อมหมดจดได้ในธรรมเหล่านั้น พระสารีบุตรเท่านั้นเป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่าภิกษุผู้ถึงฝั่ง ด้วยปัญญา ศีล และความสงบ๒-
เชตวนสูตรที่ ๘ จบ
๙. มัจฉริสูตร
ว่าด้วยคนตระหนี่
[๔๙] เทวดาทูลถามว่า คนเหล่าใดในโลกนี้ เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น บริภาษผู้อื่น ทำอันตรายแก่คนเหล่าอื่นผู้ให้อยู่ วิบากของคนเหล่านั้นจะเป็นเช่นไร และภพหน้าจะเป็นเช่นไร ข้าพระองค์มาเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาค ว่าจะรู้ข้อความนั้นได้อย่างไร @เชิงอรรถ : @ การงาน หมายถึงมรรคเจตนา วิชชา หมายถึงมรรคปัญญา ธรรม หมายถึงธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งสมาธิ @ศีลเป็นชีวิตอันสูงสุด หมายถึงชีวิตของผู้ดำรงอยู่ในศีลเป็นสิ่งสูงสุด อีกนัยหนึ่ง วิชชา หมายถึงทิฏฐิ @และสังกัปปะ ธรรม หมายถึงวายามะ สมาธิ และสติ ศีล หมายถึงวาจาและกัมมันตะ ชีวิตอันสูงสุด @หมายถึงชีวิตของผู้ดำรงอยู่ในศีลนั้นเป็นชีวิตอันสูงสุด (สํ.ส.อ. ๑/๔๘/๘๖, สํ.ฏีกา ๑/๔๘/๑๓๒) @ ดูเทียบคาถาข้อ ๑๐๑ หน้า ๑๐๗ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๖๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๖๑-๖๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=15&page=61&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=15&A=1563 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=15&A=1563#p61 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 15 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_15 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15 https://84000.org/tipitaka/english/?index_15



จบการแสดงผล หน้าที่ ๖๑-๖๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]