ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

หน้าที่ ๑๔๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

                                                                 ๗. มหาวรรค ๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร

ทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่น ให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้ว จะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้าย พระอริยะ มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขา หลังจากตายแล้ว จะไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ ท่านทั้งหลายเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลัง จุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์ อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้บ้างหรือ”๑- “ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ” “ท่านทั้งหลายรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมถูกต้องอารุปปวิโมกข์๒- อันสงบก้าวล่วงรูปทั้งหลาย เสียได้ด้วยนามกายอยู่บ้างหรือ” “ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ” “บัดนี้ คำตอบนี้ และการไม่เข้าถึงธรรมเหล่านี้ มีอยู่ในเรื่องนี้ เรื่องนี้เป็น อย่างไรกันแน่” “ท่านสุสิมะ พวกผมหลุดพ้นได้ด้วยปัญญา” “ผมไม่เข้าใจเนื้อความแห่งคำที่ท่านทั้งหลายกล่าวโดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร ขอโอกาส ขอท่านทั้งหลายจงกล่าวเท่าที่ผมจะเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่ท่านทั้งหลาย กล่าวโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารเถิด” @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดใน ที.สี. (แปล) ๙/๔๗๗/๒๐๙, ๙/๔๗๘/๒๑๐ @ อารุปปวิโมกข์ คือ การหลุดพ้นจากอรูปฌาน เพราะสงบองค์และอารมณ์แห่งฌานทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง @พระฎีกาจารย์ หมายถึงการหลุดพ้นจากความจำได้หมายรู้อรูปฌาน เพราะองค์ฌานทั้งหลายสงบระงับ @โดยภาวะที่ไกลจากธรรมเครื่องเนิ่นช้ามีนิวรณ์เป็นต้น เพราะสงบอารมณ์ที่ถึงความละเอียดอ่อนโดยปราศ @จากการจำแนกว่าเป็นรูป อีกอย่างหนึ่ง ท่านหมายถึงสงบอารมณ์ที่เป็นโลกุตตรธรรม (สํ.นิ.อ. ๒/๗๐/๑๔๓, @สํ.นิ.ฏีกา ๒/๗๐/๑๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๔๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๑๔๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=16&page=147&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=16&A=4086 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=16&A=4086#p147 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 16 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_16 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16 https://84000.org/tipitaka/english/?index_16



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๔๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]