ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

หน้าที่ ๓๒๐-๓๒๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต]

                                                                 ๑. จักขุสูตร

๔. โอกกันตสังยุต
๑. จักขุสูตร
ว่าด้วยจักขุ
[๓๐๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักขุ (ตา) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น โสตะ (หู) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ฆานะ (จมูก) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ชิวหา (ลิ้น) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น กายไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น มโน (ใจ) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘สัทธานุสารี๑- ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิของปุถุชนได้แล้ว ไม่ควรทำ กรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือภูมิแห่งเปรต ไม่สมควร ตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ของผู้ใดประจักษ์ชัดโดยยิ่งด้วยปัญญาอย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘ธัมมานุสารี๒- ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิ ของปุถุชนได้แล้ว ไม่ควรทำกรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือภูมิแห่งเปรต ไม่สมควรตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’ @เชิงอรรถ : @ สัทธานุสารี คือผู้แล่นไปตามศรัทธา ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อโสดาปัตติผล มีศรัทธาแก่กล้า บรรลุผลแล้ว @กลายเป็นสัทธาวิมุต (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒) @ ธัมมานุสารี หมายถึงผู้แล่นไปตามธรรม ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อโสดาปัตติผล มีปัญญาแก่กล้า บรรลุผลแล้ว @กลายเป็นทิฏฐิปัตตะ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒. {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๓๒๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต]

                                                                 ๒. รูปสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
จักขุสูตรที่ ๑ จบ
๒. รูปสูตร
ว่าด้วยรูป
[๓๐๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น สัททะ(เสียง)ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น คันธะ(กลิ่น)ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น รสไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น โผฏฐัพพะ (สิ่งที่ถูกต้องกาย) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘สัทธานุสารี ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิของปุถุชนได้ แล้ว ไม่ควรทำกรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือภูมิแห่งเปรต ไม่สมควรตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ของผู้ใดประจักษ์ชัดโดยยิ่งด้วยปัญญาอย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า‘ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิ ของปุถุชนได้แล้ว ไม่ควรทำกรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือภูมิแห่งเปรต ไม่สมควรตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’ ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
รูปสูตรที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๓๒๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต]

                                                                 ๔. สัมผัสสสูตร

๓. วิญญาณสูตร
ว่าด้วยวิญญาณ
[๓๐๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักขุวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางตา) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น โสตวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางหู) ฯลฯ ฆานวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางจมูก) ... ชิวหาวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางลิ้น) ... กายวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางกาย) ... มโนวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางใจ) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะ โดยอาการอื่น ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใด ฯลฯ ตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ของผู้ใด ฯลฯ ตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้ง โสดาปัตติผล ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใด ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
วิญญาณสูตรที่ ๓ จบ
๔. สัมผัสสสูตร
ว่าด้วยสัมผัส
[๓๐๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักขุสัมผัส (ความกระทบทางตา) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น โสตสัมผัส (ความกระทบทางหู) ฯลฯ ฆานสัมผัส (ความกระทบทางจมูก) ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๓๒๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต]

                                                                 ๕. สัมผัสสชาสูตร

ชิวหาสัมผัส (ความกระทบทางลิ้น) ... กายสัมผัส (ความกระทบทางกาย) ... มโนสัมผัส (ความกระทบทางใจ) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดย อาการอื่น ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘สัทธานุสารี ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
สัมผัสสสูตรที่ ๔ จบ
๕. สัมผัสสชาสูตร
ว่าด้วยสัมผัสสชาเวทนา
[๓๐๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักขุสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิด จากสัมผัสทางตา) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น โสตสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางหู) ฯลฯ ฆานสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางจมูก) ... ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางลิ้น) ... กายสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางกาย) ... มโนสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางใจ) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘สัทธานุสารี ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
สัมผัสสชาสูตรที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๓๒๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต]

                                                                 ๗. รูปสัญเจตนาสูตร

๖. รูปสัญญาสูตร
ว่าด้วยรูปสัญญา
[๓๐๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปสัญญา (ความหมายรู้รูป) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น สัททสัญญา (ความหมายรู้เสียง) ฯลฯ คันธสัญญา (ความหมายรู้กลิ่น) ... รสสัญญา (ความหมายรู้รส) ... โผฏฐัพพสัญญา (ความหมายรู้โผฏฐัพพะ) ... ธัมมสัญญา (ความหมายรู้ธรรมารมณ์) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘สัทธานุสารี ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
รูปสัญญาสูตรที่ ๖ จบ
๗. รูปสัญเจตนาสูตร
ว่าด้วยรูปสัญเจตนา
[๓๐๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปสัญเจตนา (ความจำนงรูป) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น สัททสัญเจตนา (ความจำนงเสียง) ฯลฯ คันธสัญเจตนา (ความจำนงกลิ่น) ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๓๒๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต]

                                                                 ๘. รูปตัณหาสูตร

รสสัญเจตนา (ความจำนงรส) ... โผฏฐัพพสัญเจตนา (ความจำนงโผฏฐัพพะ) ... ธัมมสัญเจตนา (ความจำนงธรรมารมณ์) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘สัทธานุสารี ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
รูปสัญเจตนาสูตรที่ ๗ จบ
๘. รูปตัณหาสูตร
ว่าด้วยรูปตัณหา
[๓๐๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปตัณหา (ความทะยานอยากในรูป) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น สัททตัณหา (ความทะยานอยากในเสียง) ฯลฯ คันธตัณหา (ความทะยานอยากในกลิ่น) ... รสตัณหา (ความทะยานอยากในรส) ... โผฏฐัพพตัณหา (ความทะยานอยากในโผฏฐัพพะ) ... ธัมมตัณหา (ความทะยานอยากในธรรมารมณ์) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘สัทธานุสารี ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’'
รูปตัณหาสูตรที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๓๒๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต]

                                                                 ๑๐. ขันธสูตร

๙. ปฐวีธาตุสูตร
ว่าด้วยปฐวีธาตุ
[๓๑๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ฯลฯ เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ... วาโยธาตุ (ธาตุลม) ... อากาสธาตุ (ธาตุอากาศ) ... วิญญาณธาตุ (ธาตุวิญญาณ) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘สัทธานุสารี ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ปฐวีธาตุสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ขันธสูตร
ว่าด้วยขันธ์
[๓๑๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น เวทนาไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น สัญญา ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น วิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๓๒๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต]

                                                                 รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘สัทธานุสารี ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิของปุถุชน ได้แล้ว ไม่ควรทำกรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือภูมิแห่ง เปรต ไม่สมควรตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ของผู้ใดประจักษ์ชัดโดยยิ่งด้วยปัญญาอย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิ ของปุถุชนได้แล้ว ไม่ควรทำกรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือภูมิแห่งเปรต ไม่สมควรตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’ ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘อริยสาวกผู้ เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ขันธสูตรที่ ๑๐ จบ
โอกกันตสังยุต จบ
รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ
๑. จักขุสูตร ๒. รูปสูตร ๓. วิญญาณสูตร ๔. สัมผัสสสูตร ๕. สัมผัสสชาสูตร ๖. รูปสัญญาสูตร ๗. รูปสัญเจตนาสูตร ๘. รูปตัณหาสูตร ๙. ปฐวีธาตุสูตร ๑๐. ขันธสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๓๒๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๓๒๐-๓๒๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=17&page=320&pages=8&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=17&A=8750 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=17&A=8750#p320 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 17 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_17 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17 https://84000.org/tipitaka/english/?index_17



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๒๐-๓๒๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]