ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

หน้าที่ ๙๔-๙๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

                                                                 มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๗. อนันตตลักขณสูตร

นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างพระตถาคตอรหันตสัมมา- สัมพุทธเจ้ากับภิกษุผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา”
สัมมาสัมพุทธสูตรที่ ๖ จบ
๗. อนัตตลักขณสูตร๑-
ว่าด้วยลักษณะแห่งอนัตตา
[๕๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกพระปัญจวัคคีย์มาตรัสว่า ฯลฯ แล้วได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ถ้ารูปนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ รูปนี้ไม่พึงเป็น ไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูปว่า ‘รูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่า ได้เป็นอย่างนั้น’ ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และ บุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า ‘รูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’ เวทนาเป็นอนัตตา ถ้าเวทนานี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ เวทนานี้ไม่พึงเป็นไป เพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า ‘เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้ เวทนาของ เราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’ ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่อ อาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า ‘เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้ เวทนาของ เราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’ สัญญาเป็นอนัตตา ฯลฯ สังขารเป็นอนัตตา ถ้าสังขารนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สังขารนี้ไม่พึงเป็นไป เพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารว่า ‘สังขารของเราจงเป็นอย่างนี้ สังขารของ เราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’ ก็เพราะสังขารเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ @เชิงอรรถ : @ วิ.ม. (แปล) ๔/๒๐-๒๔/๒๗-๓๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๙๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

                                                                 มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๗. อนันตตลักขณสูตร

และบุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารว่า ‘สังขารของเราจงเป็นอย่างนี้ สังขารของเราอย่า ได้เป็นอย่างนั้น’ วิญญาณเป็นอนัตตา ถ้าวิญญาณนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ วิญญาณนี้ไม่พึง เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า ‘วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้ วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’ ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า ‘วิญญาณของ เราจงเป็นอย่างนี้ วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง” “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข” “เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า” “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา” “ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” “เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง” “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข” “เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า” “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา” “ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๙๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

                                                                 มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๘. มหาลิสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือ ใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกลหรือ ใกล้ก็ตาม เวทนาทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น จริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกลหรือ ใกล้ก็ตาม สังขารทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความจริง อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม วิญญาณ ทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ อีกต่อไป” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอนัตตลักขณสูตรนี้จบแล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี ต่างชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเวยยากรณภาษิต นี้อยู่ พระปัญจวัคคีย์ก็มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น
อนัตตลักขณสูตรที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๙๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๙๔-๙๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=17&page=94&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=17&A=2626 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=17&A=2626#p94 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 17 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_17 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17 https://84000.org/tipitaka/english/?index_17



จบการแสดงผล หน้าที่ ๙๔-๙๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]