ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

หน้าที่ ๑-๙.


พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. สฬายตนสังยุต
๑. ปฐมปัณณาสก์
๑. อนิจจวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง
๑. อัชฌัตตานิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในไม่เที่ยง
[๑] ข้าพเจ้า๑- ได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักขุ (ตา) ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา (ไม่ใช่อัตตา) สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วย ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ อัตตาของเรา’ @เชิงอรรถ : @ ข้าพเจ้า ในตอนเริ่มต้นของพระสูตรนี้และพระสูตรอื่นๆ ในเล่มนี้หมายถึงพระอานนท์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

                                                                 ๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๑. อัชฌัตตานิจจสูตร

โสตะ (หู) ไม่เที่ยง ฯลฯ ฆานะ (จมูก) ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ ชิวหา (ลิ้น) ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ กายไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ มโน (ใจ) ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัด ว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๑- ทำกิจที่ควรทำ๒- เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๓-
อัชฌัตตานิจจสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว หมายถึงกิจแห่งการปฏิบัติเพื่อทำลายอาสวกิเลสจบสิ้นสมบูรณ์ ไม่มีกิจที่จะต้อง @ทำเพื่อตนเอง แต่ยังมีหน้าที่เพื่อผู้อื่นอยู่ ผู้อยู่จบพรหมจรรย์นี้ได้ชื่อว่าอเสขบุคคล (ที.สี.อ. ๑/๒๔๘/๒๐๓) @ กิจที่ควรทำ ในที่นี้หมายถึงกิจในอริยสัจ ๔ คือ การกำหนดรู้ทุกข์ การละเหตุแห่งทุกข์ การทำให้แจ้งซึ่ง @ความดับทุกข์ และการอบรมมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญ (ที.สี.อ. ๑/๒๔๘/๒๐๓) @ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป หมายถึงไม่มีหน้าที่ในการบำเพ็ญมรรคญาณ เพื่อความ @หมดสิ้นแห่งกิเลสอีกต่อไป เพราะพระพุทธศาสนาถือว่าการบรรลุอรหัตตผลเป็นจุดหมายสูงสุด @(ที.สี.อ. ๑/๒๔๘/๒๐๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

                                                                 ๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๓. อัชฌัตตานัตตสูตร

๒. อัชฌัตตทุกขสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในเป็นทุกข์
[๒] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใด เป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ โสตะเป็นทุกข์ ฯลฯ ฆานะเป็นทุกข์ ฯลฯ ชิวหาเป็นทุกข์ ฯลฯ กายเป็นทุกข์ ฯลฯ มโนเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อัชฌัตตทุกขสูตรที่ ๒ จบ
๓. อัชฌัตตานัตตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในเป็นอนัตตา
[๓] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็น นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ โสตะเป็นอนัตตา ฯลฯ ฆานะเป็นอนัตตา ฯลฯ ชิวหาเป็นอนัตตา ฯลฯ กายเป็นอนัตตา ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

                                                                 ๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๔. พาหิรานิจจสูตร

มโนเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอัน ชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา ของเรา’ ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อัชฌัตตานัตตสูตรที่ ๓ จบ
๔. พาหิรานิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกไม่เที่ยง
[๔] “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ สัททะ (เสียง) ฯลฯ คันธะ (กลิ่น) ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ (สิ่งที่ถูกต้องกาย) ฯลฯ ธรรมารมณ์๑- ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย กำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติ สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้อีกต่อไป”
พาหิรานิจจสูตรที่ ๔ จบ
@เชิงอรรถ : @ ธรรมารมณ์ ในที่นี้หมายถึงอารมณ์ที่เกิดกับใจที่เป็นไปในภูมิ ๓ (กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ และ @อรูปาวจรภูมิ) (สํ.สฬา.อ. ๓/๔-๖/๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

                                                                 ๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๖. พาหิรานัตตสูตร

๕. พาหิรทุกขสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกเป็นทุกข์
[๕] “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็น อนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ สัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พาหิรทุกขสูตรที่ ๕ จบ
๖. พาหิรานัตตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกเป็นอนัตตา
[๖] “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็น นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ สัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

                                                                 ๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๗. อัชฌัตตานิจจาตีตานาคตสูตร

ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วย ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ อัตตาของเรา’ ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พาหิรานัตตสูตรที่ ๖ จบ
๗. อัชฌัตตานิจจาตีตานาคตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตไม่เที่ยง
[๗] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตไม่เที่ยง ไม่ต้องกล่าวถึง จักขุที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยจักขุที่เป็นอดีต ไม่ยินดีจักขุที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ ดับจักขุที่เป็นปัจจุบัน โสตะ ... ไม่เที่ยง ฯลฯ ฆานะ ... ไม่เที่ยง ฯลฯ ชิวหาทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตไม่เที่ยง ไม่ต้องกล่าวถึงชิวหาที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยชิวหาที่เป็นอดีต ไม่ยินดีชิวหาที่เป็น อนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชิวหาที่เป็น ปัจจุบัน กาย ... ไม่เที่ยง ฯลฯ มโน ... ไม่เที่ยง ไม่ต้องกล่าวถึงมโนที่เป็นปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยมโนที่เป็นอดีต ไม่ยินดีมโนที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ มโนที่เป็นปัจจุบัน”
อัชฌัตตานิจจาตีตานาคตสูตรที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

                                                                 ๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๙. อัชฌัตตานัตตาตีตานาคตสูตร

๘. อัชฌัตตทุกขาตีตานาคตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นทุกข์
[๘] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นทุกข์ ไม่ต้องกล่าวถึง จักขุที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยจักขุที่เป็นอดีต ไม่ยินดีจักขุที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ จักขุที่เป็นปัจจุบัน โสตะ ... เป็นทุกข์ ฯลฯ ฆานะ ... เป็นทุกข์ ฯลฯ ชิวหาทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นทุกข์ ไม่ต้องกล่าวถึงชิวหาที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยชิวหาที่เป็นอดีต ไม่ยินดีชิวหาที่ เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชิวหาที่ เป็นปัจจุบัน กาย ... เป็นทุกข์ ฯลฯ มโนทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นทุกข์ ไม่ต้องกล่าวถึงมโนที่เป็นปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยมโนที่เป็นอดีต ไม่ยินดีมโนที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับมโนที่เป็นปัจจุบัน”
อัชฌัตตทุกขาตีตานาคตสูตรที่ ๘ จบ
๙. อัชฌัตตานัตตาตีตานาคตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา
[๙] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา ไม่ต้องกล่าว ถึงจักขุที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยจักขุที่เป็น อดีต ไม่ยินดีจักขุที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับจักขุที่เป็นปัจจุบัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

                                                                 ๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๑๐. พาหิรานิจจาตีตานาคตสูตร

โสตะ ... เป็นอนัตตา ฯลฯ ฆานะ ... เป็นอนัตตา ฯลฯ ชิวหาทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา ไม่ต้องกล่าวถึงชิวหาที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยชิวหาที่เป็นอดีต ไม่ยินดีชิวหาที่เป็น อนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชิวหาที่เป็น ปัจจุบัน กาย ... เป็นอนัตตา ฯลฯ มโนทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา ไม่ต้องกล่าวถึงมโนที่เป็นปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยมโนที่เป็นอดีต ไม่ยินดีมโนที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับมโนที่เป็นปัจจุบัน”
อัชฌัตตานัตตาตีตานาคตสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. พาหิรานิจจาตีตานาคตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตไม่เที่ยง
[๑๐] “ภิกษุทั้งหลาย รูปทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตไม่เที่ยง ไม่ต้องกล่าวถึงรูป ที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยรูปที่เป็นอดีต ไม่ยินดี รูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูปที่เป็น ปัจจุบัน สัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตและอนาคตไม่เที่ยง ไม่ต้องกล่าวถึงธรรมารมณ์ที่เป็น ปัจจุบัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

                                                                 ๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๑๒. พาหิรานัตตาตีตานาคตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยธรรมารมณ์ที่ เป็นอดีต ไม่ยินดีธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน”
พาหิรานิจจาตีตานาคตสูตรที่ ๑๐ จบ
๑๑. พาหิรทุกขาตีตานาคตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นทุกข์
[๑๑] “ภิกษุทั้งหลาย รูปทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นทุกข์ ไม่ต้องกล่าวถึง รูปที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยรูปที่เป็นอดีต ไม่ยินดีรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ รูปที่เป็นปัจจุบัน ฯลฯ
พาหิรทุกขาตีตานาคตสูตรที่ ๑๑ จบ
๑๒. พาหิรานัตตาตีตานาคตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา
[๑๒] “ภิกษุทั้งหลาย รูปทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา ไม่ต้องกล่าว ถึงรูปที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยรูปที่เป็น อดีต ไม่ยินดีรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูปที่เป็นปัจจุบัน สัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ธรรมารมณ์ทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา ไม่ต้องกล่าวถึงธรรมารมณ์ ที่เป็นปัจจุบัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑-๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=18&page=1&pages=9&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=18&A=1 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=18&A=1#p1 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 18 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_18 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18 https://84000.org/tipitaka/english/?index_18



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑-๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]