ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

หน้าที่ ๒๕๙-๒๖๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

                                                                 ๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๙. วีโณปมสูตร

คำว่า มี ๖ ประตู นี้เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ ประการ คำว่า นายประตู นี้เป็นชื่อของสติ คำว่า ราชทูต ๒ นายผู้มีราชการด่วน นี้เป็นชื่อของสมถะและวิปัสสนา คำว่า เจ้าเมือง นี้เป็นชื่อของวิญญาณ คำว่า ทางสี่แยกกลางเมือง นี้เป็นชื่อของมหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ๑. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ๒. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ๓. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ๔. วาโยธาตุ (ธาตุลม) คำว่า พระราชสาส์นตามความเป็นจริง นี้เป็นชื่อของนิพพาน คำว่า ทางตามที่ตนมา นี้เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)”
กิงสุโกปมสูตรที่ ๘ จบ
๙. วีโณปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยพิณ
[๒๔๖] “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทะ๑- (ความพอใจ) ราคะ๒- (ความกำหนัด) โทสะ (ความ ขัดเคือง) โมหะ (ความหลง) หรือแม้ความกระทบกระทั่งในใจในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงห้ามจิตจาก รูปที่พึงรู้แจ้งทางตานั้นโดยพิจารณาว่า ‘ทางนั้นมีภัย มีภัยจำเพาะหน้า มีหนาม รกชัฏ เป็นทางอ้อม เป็นทางผิด และไปลำบาก ทางนั้นเป็นทางที่อสัตบุรุษดำเนิน ไม่ใช่ทางที่สัตบุรุษดำเนิน ท่านไม่ควรดำเนินไปทางนั้น’ @เชิงอรรถ : @ ฉันทะ ในที่นี้หมายถึงตัณหาที่มีกำลังอ่อน แรกเกิด ไม่สามารถทำให้กำหนัดได้ (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๔๖/๑๒๔) @ ราคะ ในที่นี้หมายถึงตัณหาที่มีกำลังที่เกิดขึ้นต่อมา ทำให้เกิดความกำหนัดได้ (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๔๖/๑๒๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๕๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

                                                                 ๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๙. วีโณปมสูตร

ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตจากรูปที่พึงรู้แจ้งทางตานั้น ฯลฯ ฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือแม้ความกระทบกระทั่งในใจในรสที่พึงรู้แจ้ง ทางลิ้นพึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ฯลฯ ฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือแม้ความกระทบกระทั่งในใจในธรรมารมณ์ที่ พึงรู้แจ้งทางใจพึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้น พึงห้ามจิตจากธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจนั้นโดยพิจารณาว่า “ทางนั้นมีภัย มีภัย จำเพาะหน้า มีหนาม รกชัฏ เป็นทางอ้อม เป็นทางผิด และไปลำบาก ทางนั้น เป็นทางที่อสัตบุรุษดำเนิน ไม่ใช่ทางที่สัตบุรุษดำเนิน ท่านไม่ควรดำเนินไปทางนั้น” ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตจากธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจนั้น ข้าวกล้าถึงจะสมบูรณ์ แต่คนเฝ้าข้าวกล้าประมาท และโคตัวกินข้าวกล้าก็ลง ลุยข้าวกล้าโน้น พึงถึงความเมามันเลินเล่อตามต้องการแม้ฉันใด ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ทำความสำรวมในผัสสายตนะ ๖ ประการ ย่อมถึงความ มัวเมาประมาทในกามคุณ ๕ ตามต้องการ ข้าวกล้าสมบูรณ์ คนเฝ้าข้าวกล้าก็ไม่ประมาท และโคที่กินข้าวกล้า ก็ลงลุย ข้าวกล้าโน้น คนเฝ้าข้าวกล้าจับโคสนตะพายให้แน่น แล้วจับสายตะพายเหนือเขา ให้มั่น ตีกระหน่ำด้วยท่อนไม้แล้วปล่อยเข้าฝูงไป แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ โคที่กินข้าวกล้าก็ลงลุยข้าวกล้าโน้นอีก คนเฝ้าข้าวกล้าก็จับโค สนตะพายให้แน่น แล้วจับสายตะพายเหนือเขาให้มั่น ตีกระหน่ำด้วยท่อนไม้แล้ว ปล่อยเข้าฝูงไป เมื่อเป็นเช่นนั้น โคที่กินข้าวกล้านั้นจะอยู่ในบ้านก็ตาม อยู่ในป่า ก็ตาม ก็จะเป็นสัตว์ยืนมากหรือนอนมาก ไม่กลับลงสู่ข้าวกล้าอีก พลางนึกถึงการ ถูกตีด้วยท่อนไม้ครั้งก่อนนั้นแลแม้ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อใดภิกษุข่มขู่ คุกคามจิตในผัสสายตนะ ๖ ประการดีแล้ว เมื่อนั้นจิตย่อมอยู่สงบนิ่งอยู่ภายใน ตั้งมั่น เป็นหนึ่งผุดขึ้น เปรียบเหมือนพระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชาไม่เคยสดับเสียงพิณ พระ ราชาหรืออำมาตย์ของพระราชานั้นสดับเสียงพิณแล้วพึงถามว่า “ผู้เจริญ เสียงที่น่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๖๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

                                                                 ๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๙. วีโณปมสูตร

ใคร่อย่างนี้ น่าชอบใจอย่างนี้ น่าเพลิดเพลินอย่างนี้ น่าหมกมุ่นอย่างนี้ น่าพัวพัน อย่างนี้ เป็นเสียงอะไร” ราชบุรุษทั้งหลายพึงทูลว่า “เสียงที่น่าใคร่อย่างนี้ น่าชอบใจอย่างนี้ น่า เพลิดเพลินอย่างนี้ น่าหมกมุ่นอย่างนี้ น่าพัวพันอย่างนี้ เป็นเสียงพิณ พ่ะย่ะค่ะ” พระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชาพึงกล่าวว่า “ผู้เจริญ ท่านทั้งหลายจงไป นำพิณนั้นมาให้เรา” ราชบุรุษทั้งหลายนำพิณนั้นมาถวายพระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชานั้นแล้ว พึงกราบทูลว่า “นี่คือพิณนั้นซึ่งมีเสียงน่าใคร่อย่างนี้ น่าชอบใจอย่างนี้ น่าเพลิดเพลินอย่างนี้ น่าหมกมุ่นอย่างนี้ น่าพัวพันอย่างนี้ พ่ะย่ะค่ะ” พระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชาพึงกล่าวว่า “ผู้เจริญ เราไม่ต้องการพิณนี้ ท่านทั้งหลายจงนำเสียงพิณนั้นมาให้เรา” ราชบุรุษทั้งหลายพึงกราบทูลว่า “ขึ้นชื่อว่าพิณนี้มีเครื่องประกอบมากมาย หลายอย่าง พิณที่นายช่างประกอบดีแล้วด้วยเครื่องประกอบหลายอย่างจึงจะเปล่ง เสียงได้ คือ อาศัยราง อาศัยหนัง อาศัยคัน อาศัยลูกบิด๑- อาศัยสาย อาศัย ไม้ดีดพิณ และอาศัยความพยายามของบุรุษซึ่งเหมาะแก่พิณนั้น ขึ้นชื่อว่าพิณนี้มีเครื่องประกอบมากมายหลายอย่าง พิณที่นายช่างประกอบดี แล้วด้วยเครื่องประกอบหลายอย่าง จึงจะเปล่งเสียงได้อย่างนี้ พ่ะย่ะค่ะ” พระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชานั้นพึงผ่าพิณนั้นเป็น ๑๐ เสี่ยง หรือ ๑๐๐ เสี่ยงแล้ว ทำให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วพึงเผาไฟทำให้เป็นเขม่า โปรยไปในลม พายุหรือลอยไปในแม่น้ำที่มีกระแสเชี่ยว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ขึ้นชื่อว่าพิณนี้เลวทราม สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ชื่อว่าพิณก็เลวทรามเหมือนพิณฉะนั้น เพราะ พิณนี้ทำให้คนประมาท หลงใหลจนเกินขอบเขต” แม้ฉันใด @เชิงอรรถ : @ ลูกบิด หมายถึงอุปกรณ์ปิดช่องหรือขดสายเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดหรือเครื่องสีให้ตึงหรือหย่อน @มักทำด้วยไม้หรืองา (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๗๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๖๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

                                                                 ๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๑๐. ฉัปปาณโกปมสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมค้นหารูปตลอดคติแห่งรูปที่มีอยู่ ค้นหาเวทนาตลอดคติแห่งเวทนาที่มีอยู่ ค้นหาสัญญาตลอดคติแห่งสัญญาที่มีอยู่ ค้นหาสังขารตลอดคติแห่งสังขารที่มีอยู่ ค้นหาวิญญาณตลอดคติแห่งวิญญาณที่ มีอยู่ เมื่อภิกษุนั้นค้นหารูป ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... เมื่อภิกษุนั้นค้นหา วิญญาณตลอดคติแห่งวิญญาณที่มีอยู่ ความถือว่า ‘เรา’ ‘ของเรา’ ‘มีเรา’ ของ ภิกษุนั้นไม่มีเลย”
วีโณปมสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ฉัปปาณโกปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยสัตว์ ๖ ชนิด
[๒๔๗] “ภิกษุทั้งหลาย บุรุษมีร่างกายเต็มไปด้วยแผลพุพอง เข้าไปสู่ป่าหญ้าคา แม้ถ้าหน่อหญ้าคาตำเท้าของเขา ใบหญ้าคาบาดร่างกายที่พุพอง เมื่อเป็นเช่นนั้น บุรุษนั้นพึงเสวยทุกข์โทมนัสเหลือประมาณเพราะเหตุนั้นแม้ฉันใด ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะไปสู่บ้านหรือจะไปสู่ป่าก็ตาม จะมีผู้ทักท้วงว่า “ท่านรูปนี้ทำอย่างนี้ มีความประพฤติอย่างนี้ เป็นผู้ไม่สะอาด เป็นดุจหนามคอยทิ่มแทงชาวบ้าน” เธอทั้งหลายรู้ว่า “ภิกษุนั้นเป็นดุจหนาม” แล้วพึงทราบความสำรวมและ ความไม่สำรวมต่อไป
ความไม่สำรวม
ความไม่สำรวม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ย่อมยินดีในรูปที่น่ารัก ย่อมยินร้าย ในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็น บาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๖๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๕๙-๒๖๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=18&page=259&pages=4&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=18&A=7271 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=18&A=7271#p259 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 18 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_18 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18 https://84000.org/tipitaka/english/?index_18



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๕๙-๒๖๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]