ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

หน้าที่ ๑๑๕-๑๑๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

                                                                 ๑. ปัพพตวรรค ๓. สีลสูตร

สมัยใด ความเพียรไม่ย่อหย่อนเป็นอันเธอผู้เลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจ พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาปรารภแล้ว สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุ ปรารภแล้ว ภิกษุชื่อว่าเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ เต็มที่แก่ภิกษุ ปีติไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่เธอผู้ได้ปรารภความเพียร สมัยใด ปีติไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ได้ปรารภความเพียร สมัยนั้น ปีติ- สัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ ทั้งกายทั้งจิตของเธอผู้มีใจมีปีติย่อมสงบ สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจมีปีติย่อมสงบ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุชื่อว่าเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ จิตของเธอผู้มีกายสงบ มีสุขย่อมตั้งมั่น สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบ มีสุขย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุชื่อว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อม ถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ เธอย่อมเพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นอย่างนั้นด้วยดี สมัยใด ภิกษุย่อมเพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นอย่างนั้นด้วยดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุชื่อว่าเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
อานิสงส์การเจริญโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ พึงหวังผลานิสงส์๑- ๗ ประการ ผลานิสงส์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. จะได้บรรลุอรหัตตผลทันทีในปัจจุบัน ๒. หากในปัจจุบันยังไม่ได้บรรลุ ก็จะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย @เชิงอรรถ : @ ผลานิสงส์ แปลมาจากคำว่า ผลา และ อานิสํสา ทั้ง ๒ คำนี้ โดยใจความเป็นอันเดียวกัน @(สํ.ม.อ. ๓/๑๘๔/๒๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๑๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

                                                                 ๑. ปัพพตวรรค ๓. สีลสูตร

๓. หากในปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ก็จะได้เป็นพระ อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี๑- เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์ เบื้องต่ำ) ๕ ประการสิ้นไป ๔. หากในปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ และไม่ได้เป็น พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้ อุปหัจจปรินิพพายี๒- เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป ๕. หากในปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระ อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจ- ปรินิพพายี ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี๓- เพราะ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป ๖. หากในปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระ อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจ- ปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ก็ จะได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี๔- เพราะโอรัมภาคิย- สังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป @เชิงอรรถ : @ อันตราปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้ปรินิพพานในระหว่าง คือ เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้ว @เมื่ออายุยังไม่ถึงกึ่งของอายุผู้เกิดในชั้นสุทธาวาสก็ปรินิพพานเสียในระหว่าง เช่นในชั้นอวิหามีอายุ ๑,๐๐๐ @กัป มี ๓ จำพวก ดังนี้ @พวกที่ ๑ บรรลุพระอรหัตตผลในวันที่เกิด ถ้าไม่บรรลุในวันที่เกิดก็บรรลุไม่เกินภายใน ๑๐๐ กัป @พวกที่ ๒ เมื่อไม่สามารถบรรลุพระอรหัตตผลในวันที่เกิดหรือบรรลุภายใน ๑๐๐ กัปได้ก็บรรลุภายใน @๒๐๐ กัป @พวกที่ ๓ เมื่อไม่สามารถบรรลุพระอรหัตตผลภายใน ๒๐๐ กัป ก็บรรลุไม่เกินภายใน ๔๐๐ กัป @ส่วนในสุทธาวาสชั้นอื่นๆ คือ อตัปปาที่มีอายุ ๒,๐๐๐ กัป ชั้นสุทัสสาที่มีอายุ ๔,๐๐๐ กัป @ชั้นสุทัสสีที่มีอายุ ๘,๐๐๐ กัป ชั้นอกนิฏฐาที่มีอายุ ๑๖,๐๐๐ กัป ก็มีนัยเช่นเดียวกัน @(สํ.ม.อ. ๓/๑๘๔/๒๑๐, องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓) @ อุปหัจจปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้เกิดอยู่ในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้ว มีอายุพ้นกึ่งจึง @ปรินิพพาน เช่น ในชั้นอวิหาซึ่งมีอายุ ๑,๐๐๐ กัป พระอนาคามีจำพวกนี้มีอายุพ้นกึ่ง คือ พ้น ๕๐๐ กัป @แล้วจึงปรินิพพาน ส่วนในสุทธาวาสชั้นอื่นที่เหลือซึ่งมีอายุแตกต่างกันไป ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้ @(สํ.ม.อ. ๓/๑๘๔/๒๑๐, องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓) @ อสังขารปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้บรรลุพระอรหัตปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรมาก @(สํ.ม.อ. ๓/๑๘๔/๒๑๐, องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓) @ สสังขารปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งบรรลุพระอรหัตปรินิพพานโดย @ต้องใช้ความเพียรมาก (สํ.ม.อ. ๓/๑๘๔/๒๑๐, องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๑๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

                                                                 ๑. ปัพพตวรรค ๔. วัตถสูตร

๗. หากในปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระ อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจ- ปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี และ ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ก็จะได้เป็นพระ อนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี๑- เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป ภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ พึงหวังผลานิสงส์ ๗ ประการนี้”
สีลสูตรที่ ๓ จบ
๔. วัตถสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยผ้า
[๑๘๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลาย มากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้ กล่าวเรื่องนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ @เชิงอรรถ : @ อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี หมายถึงพระอนาคามีผู้มีกระแสสูงขึ้นไปไปจนถึงชั้นอกนิฏฐภพ คือ เกิดใน @สุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้วก็จะเกิดเลื่อนขึ้นไปจนถึงชั้นอกนิฏฐภพ แล้วจึงปรินิพพานในภพนั้น @(สํ.ม.อ. ๓/๑๘๔/๒๑๐, องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๑๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๑๑๕-๑๑๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=19&page=115&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=19&A=3112 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=19&A=3112#p115 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 19 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_19 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19 https://84000.org/tipitaka/english/?index_19



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๑๕-๑๑๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]