ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

หน้าที่ ๓๘๕-๓๘๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]

                                                                 ๑. ปาวาลวรรค ๑๐. เจติยสูตร

ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน ว่า ‘นี้เป็นอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณ เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ก็อิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิ- ปธานสังขารนี้ควรเจริญ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน ว่า ‘อิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขารนี้เราได้เจริญแล้ว’ ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘นี้เป็นอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณ เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิ- ปธานสังขารนี้ควรเจริญ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน ว่า ‘อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารนี้เราได้เจริญแล้ว”
ญาณสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. เจติยสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ปาวาลเจดีย์
[๘๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารสาลา ป่ามหาวัน เขต กรุงเวสาลี ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงเวสาลี เสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระ กระยาหารเสร็จแล้ว ได้รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอจงถือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๘๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]

                                                                 ๑. ปาวาลวรรค ๑๐. เจติยสูตร

ผ้านิสีทนะ๑- เราจักเข้าไปยังปาวาลเจดีย์เพื่อพักผ่อนกลางวัน” ท่านพระอานนท์ ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วได้ถือผ้านิสีทนะตามเสด็จพระผู้มีพระภาคไปทางเบื้อง พระปฤษฎางค์ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังปาวาลเจดีย์ ประทับนั่งบนพุทธ- อาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ฝ่ายท่านพระอานนท์ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์ กรุงเวสาลี น่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์น่ารื่นรมย์ โคตมกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์น่ารื่นรมย์ พหุปุตตกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สารันททเจดีย์น่ารื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์ก็น่ารื่นรมย์ อานนท์ อิทธิบาท ๔ ประการอันบุคคลใดบุคคลหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำ ให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดีแล้ว บุคคลนั้นเมื่อปรารถนา ก็จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ตลอดกัป๒- หรือมากกว่ากัป อานนท์ อิทธิบาท ๔ ประการอันตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจ ยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดีแล้ว ตถาคตเมื่อปรารถนาก็จะมี ชีวิตอยู่ต่อไปได้ตลอดกัปหรือมากกว่ากัป” แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทำนิมิตที่ชัดแจ้ง โอภาสที่ชัดเจนอย่างนี้ ท่าน พระอานนท์ก็ไม่อาจรู้ทัน จึงไม่กราบทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนม์อยู่ต่อไปตลอดกัป ขอ พระสุคตโปรดดำรงพระชนม์อยู่ต่อไปตลอดกัปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย” ทั้งนี้เป็นเพราะท่านถูกมารดลใจ แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ กรุงเวสาลีน่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์น่ารื่นรมย์ โคตมกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์ @เชิงอรรถ : @ ผ้านิสีทนะ ในที่นี้หมายถึงท่อนหนังสำหรับใช้เป็นผ้ารองนั่ง (สํ.ม.อ. ๓/๘๒๒/๓๒๗) @ กัป ในที่นี้หมายถึงอายุกัปของมนุษย์ที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ (สํ.ม.อ. ๓/๘๒๒/๓๒๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๘๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๓๘๕-๓๘๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=19&page=385&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=19&A=10410 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=19&A=10410#p385 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 19 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_19 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19 https://84000.org/tipitaka/english/?index_19



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๘๕-๓๘๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]