ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

หน้าที่ ๒๔๒.


                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๑. มุสาวาทวรรค ๖. ทุติยสหเสยยสิกขาบท นิทานวัตถุ

ครั้นแล้ว นางจึงจัดเตียงข้างในห้องถวายด้วยตนเอง แล้วแต่งตัว ประพรม เครื่องหอม เข้าไปหาพระเถระถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วจึงกล่าวกับท่านพระอนุรุทธะนั้น ดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า พระคุณเจ้ารูปงาม น่าดู น่าชม ส่วนดิฉันก็รูปงาม น่าดู น่าชม ทางที่ดี ดิฉันควรเป็นภรรยาของพระคุณเจ้า” เมื่อนางกล่าวอย่างนี้ ท่าน พระอนุรุทธะได้นิ่งเสีย แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ หญิงนั้นก็กล่าวกับท่าน พระอนุรุทธะนั้นดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า พระคุณเจ้ารูปงาม น่าดู น่าชม ส่วนดิฉัน ก็รูปงาม น่าดู น่าชม ทางที่ดี ขอให้พระคุณเจ้ารับตัวดิฉันและสมบัติทั้งปวงเถิด” แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอนุรุทธะก็ได้นิ่งเสีย ลำดับนั้น นางจึงเปลื้องผ้าออก เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้างต่อหน้า พระเถระ ทีนั้น พระเถระสำรวมอินทรีย์ ไม่แลดู ไม่พูดกับนาง หญิงนั้นคิดว่า น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี คนส่วนมากส่งทรัพย์มาให้เรา ๑๐๐ กหาปณะบ้าง ๑,๐๐๐ กหาปณะบ้าง แต่พระสมณะรูปนี้เราอ้อนวอน ก็ยังไม่ ปรารถนาที่จะรับตัวเราและสมบัติทั้งปวง จึงนุ่งผ้าแล้วน้อมศีรษะลงแทบเท้าท่าน พระอนุรุทธะ ขอขมาว่า “พระคุณเจ้า ดิฉันได้กระทำความผิดเพราะความโง่เขลาเบา ปัญญา ที่ได้กระทำอย่างนี้ ขอพระคุณเจ้าจงให้อภัยโทษแก่ดิฉันเพื่อสำรวมต่อไป” พระเถระกล่าวว่า “น้องหญิง เอาเถิด การที่เธอได้ทำความผิดไปเพราะความโง่ เขลาเบาปัญญา ที่ได้กระทำอย่างนี้เพราะเหตุที่เห็นความผิดเป็นความผิด แล้วแก้ไข ให้ถูกต้อง ข้อนั้นอาตมายอมรับ เพราะการที่บุคคลเห็นความผิดเป็นความผิดแล้ว แก้ไขให้ถูกต้องและสำรวมต่อไป นี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ” ครั้นราตรีนั้นผ่านพ้นไป หญิงนั้นได้เอาของเคี้ยวของฉันอย่างดีประเคนท่าน พระอนุรุทธะด้วยตนเอง กระทั่งท่านพระอนุรุทธะฉันเสร็จ ละมือจากบาตร จึง อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระอนุรุทธะได้ชี้แจงให้หญิงนั้นผู้นั่งอยู่ ณ ที่สมควร เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๔๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๒๔๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=2&page=242&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=2&A=6214 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=2&A=6214#p242 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 2 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_2 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 https://84000.org/tipitaka/english/?index_2



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๔๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]