ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

หน้าที่ ๓๙๖.


                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๔. โภชนวรรค ๕. ปฐมปวารณาสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ของที่ไม่เป็นเดน
ที่ชื่อว่า ที่ไม่เป็นเดน คือ (๑) ของที่ภิกษุยังมิได้ทำให้เป็นกัปปิยะ (๒) ของ ที่ภิกษุยังมิได้รับประเคน (๓) ของที่ภิกษุยังมิได้ยกขึ้นส่งให้ (๔) ของที่อยู่นอก หัตถบาส (๕) ของที่ภิกษุยังมิได้ฉัน (๖) ของที่ภิกษุฉันแล้วบอกห้าม ลุกจาก อาสนะแล้ว (๗) ของที่ภิกษุยังมิได้กล่าวว่า “ทั้งหมดนั่นพอแล้ว” (๘) ของไม่เป็น เดนภิกษุเป็นไข้ นี้ชื่อว่าที่ไม่เป็นเดน
ของที่เป็นเดน
ที่ชื่อว่า ที่เป็นเดน คือ (๑) ของที่ภิกษุทำให้เป็นกัปปิยะแล้ว (๒) ของที่ภิกษุ รับประเคนแล้ว (๓) ของที่ภิกษุยกขึ้นส่งให้แล้ว (๔) ของที่อยู่ในหัตถบาส (๕) ของ ที่ภิกษุฉันแล้ว (๖) ของที่ภิกษุฉันแล้วบอกห้าม แต่ยังไม่ลุกจากอาสนะ (๗) ของที่ ภิกษุกล่าวว่า “ทั้งหมดนั่นพอแล้ว” (๘) ของเป็นเดนภิกษุเป็นไข้ นี้ชื่อว่าที่เป็นเดน ของเคี้ยว ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ ๑- ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และ ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว @เชิงอรรถ : @ ยามกาลิก ของที่ภิกษุรับประเคนไว้แล้วฉันได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่งก่อนอรุณของวันใหม่ คือ น้ำปานะ ได้แก่ @น้ำคั้นผลไม้ที่ทรงอนุญาต ๘ อย่าง คือ (๑) อัมพปานะ น้ำมะม่วง (๒) ชัมพุปานะ น้ำหว้า (๓) โจจปานะ @น้ำกล้วยมีเมล็ด (๔) โมจปานะ น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด (๕) มธุกปานะ น้ำมะทราง (๖) มุททิกปานะ น้ำผล @จันทน์หรือน้ำองุ่น (๗) สาลูกปานะ น้ำเหง้าบัว (๘) ผารุสกปาน น้ำผลมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่ และน้ำผลไม้ @ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก, น้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง, น้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะทราง, @น้ำอ้อยสด ฉันได้ (วิ.ม. ๕/๓๐๐/๘๔, วิ.อ. ๒/๒๕๕-๒๕๖/๓๗๘) @สัตตาหกาลิก ของที่ภิกษุรับประเคนไว้แล้วฉันได้ภายใน ๗ วัน คือ เภสัชทั้ง ๕ ได้แก่ (๑) สัปปิ เนยใส @(๒) นวนีตะ เนยข้น (๓) เตละ น้ำมัน (๔) มธุ น้ำผึ้ง (๕) ผาณิต น้ำอ้อย (วิ.ม. ๕/๒๖๐/๒๗) @ยาวชีวิก ของที่ภิกษุรับประเคนไว้แล้ว ฉันได้ตลอดไป ไม่จำกัดเวลา คือ ของที่ใช้ปรุงเป็นยา ได้แก่ @หลิททะ ขมิ้น, สิงคิเวระ ขิง, วจะ ว่านน้ำ, วจัตถะ ว่านเปราะ, อติวิสะ อุตพิด, กฏุกโรหิณี ข่า, อุสีระ @แฝก, ภัททมุตตกะ แห้วหมู เป็นต้น (วิ.ม. ๕/๒๖๓/๒๙) ดูเชิงอรรถ ข้อ ๒๕๖ หน้า ๔๐๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๙๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๓๙๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=2&page=396&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=2&A=10117 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=2&A=10117#p396 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 2 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_2 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 https://84000.org/tipitaka/english/?index_2



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๙๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]