ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๑๐๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ปุคคลวรรค

คือ ภิกษุผู้เป็นเถระในธรรมวินัยนี้มีความคิดอย่างนี้ว่า “ถึงพระเถระ๑- ก็ไม่ควร ว่ากล่าวเรา ถึงพระมัชฌิมะ๒- ก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระนวกะ๓- ก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ตัวเราก็ไม่ควรว่ากล่าวพระเถระ พระมัชฌิมะ และพระนวกะ ถึงหากพระเถระจะว่า กล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับเขาว่า ‘ไม่ทำละ’ ถึงเราก็จะเบียดเบียนเขา แม้เห็นอยู่ก็จะไม่ทำตาม คำแนะนำของเขา หากพระมัชฌิมะจะว่ากล่าวเรา ฯลฯ หากพระนวกะจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะ พูดกับเขาว่า ‘ไม่ทำละ’ ถึงเราก็จะเบียดเบียนเขา แม้เห็นอยู่ก็จะไม่ทำตามคำแนะนำ ของเขา” แม้พระมัชฌิมะก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ฯลฯ แม้พระนวกะก็มีความคิดอย่างนี้ว่า “ถึงพระเถระก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระมัชฌิมะก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระนวกะ ก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ตัวเราก็ไม่ควรว่ากล่าวพระเถระ พระมัชฌิมะ และพระนวกะ ถึงหากพระเถระจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนา สิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า ‘ไม่ทำละ’ ถึงเราก็จะเบียดเบียนท่าน แม้เห็นอยู่ก็จะไม่ทำตามคำสอนของท่าน หากพระมัชฌิมะจะว่ากล่าวเรา ฯลฯ หาก พระนวกะจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า ‘ไม่ทำละ’ ถึงเราก็จะเบียดเบียนท่าน แม้ เห็นอยู่ก็จะไม่ทำตามคำสอนของท่าน” การอยู่ร่วมกันของอสัตบุรุษและอสัตบุรุษอยู่ร่วมกันเป็นอย่างนี้แล การอยู่ร่วมกันของสัตบุรุษและสัตบุรุษอยู่ร่วมกัน เป็นอย่างไร @เชิงอรรถ : @ พระเถระ หมายถึงพระผู้มีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ ที่นับว่าเป็นพระผู้ใหญ่ คือมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ @ขึ้นไป และรู้ปาติโมกข์ เป็นต้น @ พระมัชฌิมะ หมายถึงพระระดับกลางมีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ ที่นับว่าพระปูนกลาง คือมีพรรษา @ตั้งแต่ครบ ๕ แต่ยังไม่ถึง ๑๐ @ พระนวกะ ในที่นี้หมายถึงพระใหม่ มีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ที่นับว่ายังใหม่ มีพรรษาต่ำกว่า ๕ @ที่ยังต้องถือนิสสัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๐๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๐๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=100&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=2721 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=2721#p100 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๐๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]