ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๑๕๒-๑๕๓.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. รถการวรรค ๓. อาสังสสูตร

ดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องที่ทำให้เกิดแสงสว่าง เขาฟังข่าวว่า “กษัตริย์ทรงพระนามอย่างนี้ได้รับแต่งตั้งโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์” เขาไม่มีความคิดว่า “พวกกษัตริย์จักแต่งตั้งตัวเราโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์สัก คราวหนึ่งเป็นแน่แท้” นี้เรียกว่า บุคคลที่หมดความหวัง บุคคลที่ยังมีความหวัง เป็นอย่างไร คือ พระราชโอรสพระองค์พี่ของพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ในโลกนี้ ผู้ยังไม่ได้รับการแต่งตั้งโดยการอภิเษก ถึงความไม่หวั่นไหว พระองค์สดับ ว่า “กษัตริย์ผู้มีพระนามอย่างนี้ได้รับแต่งตั้งโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์” พระองค์ ทรงดำริอย่างนี้ว่า “พวกกษัตริย์จักแต่งตั้งเราโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์สักคราว หนึ่งเป็นแน่แท้” นี้เรียกว่า บุคคลที่ยังมีความหวัง บุคคลที่ปราศจากความหวัง เป็นอย่างไร คือ พระราชาในโลกนี้เป็นกษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว พระองค์สดับว่า “กษัตริย์ผู้มีพระนามอย่างนี้ได้รับแต่งตั้งโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์” พระองค์ย่อม ไม่ทรงดำริว่า “พวกกษัตริย์จักแต่งตั้งแม้เราโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์สักคราว หนึ่งเป็นแน่แท้” ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความหวังในการอภิเษกของพระองค์ เมื่อครั้งยังไม่ได้รับการอภิเษกระงับไปแล้ว นี้เรียกว่า บุคคลที่ปราศจากความหวัง ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก ฉันใด บุคคล ๓ จำพวกก็มีปรากฏอยู่ในหมู่ภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลที่หมดความหวัง ๒. บุคคลที่ยังมีความหวัง ๓. บุคคลที่ปราศจากความหวัง บุคคลที่หมดความหวัง เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนทุศีล๑- มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด๒- มีความประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ @เชิงอรรถ : @ ทุศีล หมายถึงไม่มีศีล (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๓/๘๖) @ ไม่สะอาด ในที่นี้หมายถึงกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมไม่สะอาด (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๓/๘๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๕๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. รถการวรรค ๓. อาสังสสูตร

ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี๑- เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือน หยากเยื่อ๒- เธอสดับว่า “ภิกษุชื่อนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” เธอไม่มีความคิดอย่างนี้ ว่า “แม้เราก็จักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันสักคราวหนึ่งเป็นแน่แท้” นี้เรียกว่า บุคคล ที่หมดความหวัง บุคคลที่ยังมีความหวัง เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล มีกัลยาณธรรม เธอสดับว่า “ภิกษุชื่อนี้ทำให้ แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “แม้เราก็จักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา- วิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันสัก คราวหนึ่งเป็นแน่แท้” นี้เรียกว่า บุคคลที่ยังมีความหวัง บุคคลที่ปราศจากความหวัง เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวะ เธอสดับว่า “ภิกษุชื่อนี้ ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอัน ยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” เธอไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า “แม้เราก็จักทำให้แจ้งเจโต วิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึง อยู่ในปัจจุบันสักคราวหนึ่งเป็นแน่แท้” ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความหวังในความ หลุดพ้น ของเธอเมื่อครั้งยังไม่หลุดพ้นระงับไปแล้ว นี้เรียกว่า บุคคลที่ปราศจาก ความหวัง ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในหมู่ภิกษุ
อาสังสสูตรที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ ไม่ใช่พรหมจารีแต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี หมายถึงตนเองไม่มีศีล หมดสภาพความเป็นภิกษุ @แต่ยังเรียกตนว่า “เป็นภิกษุ” แล้วร่วมอยู่ ร่วมฉันกับภิกษุอื่นผู้มีศีล ใช้สิทธิ์ถือเอาลาภที่เกิดขึ้นในสงฆ์ @(องฺ.ติก.อ. ๒/๑๓/๘๖) @ หยากเยื่อ ในที่นี้หมายถึงหยากเยื่อคือกิเลสมีราคะเป็นต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๓/๘๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๕๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๕๒-๑๕๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=152&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=4120 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=4120#p152 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๕๒-๑๕๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]