ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๒๐๘-๒๐๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๕. จูฬวรรค ๗. สังขตลักขณสูตร

คุณธรรมเหล่านี้เป็นฐานะของสัตบุรุษทั้งหลายผู้สงบ เป็นพรหมจารีบุคคลซึ่งบัณฑิตควรเสพ บัณฑิตนั้นเป็นอริยบุคคลผู้มีทัสสนะสมบูรณ์๑- เข้าถึงโลกอันเกษม๒- ได้
ปัณฑิตสูตรที่ ๕ จบ
๖. สีลวันตสูตร
ว่าด้วยบรรพชิตผู้มีศีล
[๔๖] ภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้มีศีล เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดอยู่ มนุษย์ทั้งหลายในหมู่บ้านหรือตำบลนั้น ย่อมประสพบุญมากด้วยฐานะ๓- ๓ ประการ ฐานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กาย ๒. วาจา ๓. ใจ ภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดอยู่ มนุษย์ ทั้งหลายในหมู่บ้านหรือตำบลนั้นย่อมประสพบุญมากด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล
สีลวันตสูตรที่ ๖ จบ
๗. สังขตลักขณสูตร
ว่าด้วยลักษณะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
[๔๗] ภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม(ลักษณะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง แห่งธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) ๓ ประการนี้ @เชิงอรรถ : @ อริยบุคคลผู้มีทัสสนะสมบูรณ์ ในที่นี้หมายถึงบุคคลผู้บำรุงมารดาบิดา มิใช่หมายถึงพระพุทธเจ้า @หรือพระโสดาบัน (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๕/๑๕๓) @ โลกอันเกษม ในที่นี้หมายถึงเทวโลก (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๕/๑๕๓) @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๔๔ ติกนิบาต หน้า ๒๐๗ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๐๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๕. จูฬวรรค ๙. ปัพพตราชสูตร

สังเขตลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเกิดขึ้นปรากฏ ๒. ความดับสลายปรากฏ ๓. เมื่อตั้งอยู่ ความแปร๑- ปรากฏ ภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล
สังขตลักขณสูตรที่ ๗ จบ
๘. อสังขตลักขณสูตร
ว่าด้วยลักษณะที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
[๔๘] ภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม(ลักษณะที่ไม่ถูกปัจจัย ปรุงแต่งแห่งธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) ๓ ประการนี้ อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเกิดขึ้นไม่ปรากฏ ๒. ความดับสลายไม่ปรากฏ ๓. เมื่อตั้งอยู่ ความแปรไม่ปรากฏ ภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล
อสังขตลักขณสูตรที่ ๘ จบ
๙. ปัพพตราชสูตร
ว่าด้วยขุนเขาหิมพานต์
[๔๙] ภิกษุทั้งหลาย ไม้สาละใหญ่อาศัยขุนเขาหิมพานต์ย่อมงอกงาม ด้วยความเจริญ ๓ ประการ @เชิงอรรถ : @ ความแปร (อัญญถัตตะ) ในที่นี้หมายถึงความเปลี่ยนกลายไปจากลักษณะหรือภาวะเดิม ได้แก่ ชรา @(องฺ.ติก.อ. ๒/๔๗/๑๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๐๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๐๘-๒๐๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=208&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=5766 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=5766#p208 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๐๘-๒๐๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]