ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๒๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๓. เอกปุคคลวรรค

[๑๖๐] ภิกษุพวกที่แสดงสิ่งที่ไม่เป็นอาบัติว่า “ไม่เป็นอาบัติ” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อ เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมาก และ ดำรงสัทธรรมนี้ไว้ได้ (๑๑) [๑๖๑] ภิกษุพวกที่แสดงอาบัติว่า “เป็นอาบัติ” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คน หมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมาก และดำรง สัทธรรมนี้ไว้ได้ (๑๒) [๑๖๒-๑๖๙] ภิกษุพวกที่แสดงอาบัติเบาว่า “เป็นอาบัติเบา” ฯลฯ แสดง อาบัติหนักว่า “เป็นอาบัติหนัก” ฯลฯ แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า “เป็นอาบัติชั่วหยาบ” ฯลฯ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า “เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ” ฯลฯ แสดงอาบัติที่มีส่วน เหลือว่า “เป็นอาบัติที่มีส่วนเหลือ” ฯลฯ แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือว่า “เป็น อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ” ฯลฯ แสดงอาบัติที่ทำคืนได้ว่า “เป็นอาบัติที่ทำคืนได้” ฯลฯ แสดงอาบัติที่ทำคืนไม่ได้ว่า “เป็นอาบัติที่ทำคืนไม่ได้” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมาก และดำรง สัทธรรมนี้ไว้ได้ (๒๐)
อนาปัตติวรรคที่ ๑๒ จบ
๑๓. เอกปุคคลวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคลผู้เป็นเอก
[๑๗๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก เมื่อเกิดขึ้น ในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาว โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลผู้เป็น เอกคือใคร คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บุคคลผู้เป็นเอกนี้แล เมื่อเกิด ขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=22&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=592 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=592#p22 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]