ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๒๒๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๑. พราหมณวรรค ๗. วัจฉโคตตสูตร

ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า “พึงให้ทานแก่เราเท่านั้น ไม่พึงให้ทานแก่ชนเหล่าอื่น พึงให้ทานแก่สาวกของเรา เท่านั้น ไม่พึงให้ทานแก่สาวกของชนเหล่าอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นจึงมีผลมาก ทานที่ให้แก่ชนเหล่าอื่นไม่มีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของเราเท่านั้นจึงมีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของชนเหล่าอื่นไม่มีผลมาก” ข้าแต่ท่านพระโคดม ชนเหล่าใด กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า “พึงให้ทานแก่เราเท่านั้น ไม่พึงให้ ทานแก่ชนเหล่าอื่น พึงให้ทานแก่สาวกของเราเท่านั้น ไม่พึงให้ทานแก่สาวกของ ชนเหล่าอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นจึงมีผลมาก ทานที่ให้แก่ชนเหล่าอื่นไม่มีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของเราเท่านั้นจึงมีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของชนเหล่าอื่นไม่มี ผลมาก” ชนเหล่านั้นชื่อว่าพูดตามที่ท่านพระโคดมตรัส ไม่กล่าวตู่ท่านพระโคดม ด้วยคำที่ไม่จริง และชื่อว่ากล่าวธรรมตามสมควรแก่ธรรม ก็การคล้อยตามคำพูดที่ ชอบธรรมบางอย่าง ย่อมไม่ถึงฐานะที่น่าติเตียนบ้างหรือ เพราะข้าพเจ้าทั้งหลายไม่ ประสงค์จะกล่าวตู่ท่านพระโคดม พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า วัจฉะ ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม ตรัสอย่างนี้ว่า พึงให้ทานแก่เราเท่านั้น ฯลฯ ทานที่ให้แก่สาวกของชนเหล่าอื่นไม่มี ผลมาก ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่พูดตามที่เราพูด และชนเหล่านั้นชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วย คำที่ไม่ดี ไม่เป็นจริง วัจฉะ ผู้ใดห้ามบุคคลอื่นที่ให้ทานอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าทำอันตราย แก่วัตถุ ๓ อย่าง เป็นโจรดักปล้นวัตถุ ๓ อย่าง วัตถุ ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ทำอันตรายแก่บุญของทายก(ผู้ให้) ๒. ทำอันตรายแก่ลาภของปฏิคาหก(ผู้รับ) ๓. ในเบื้องต้น ตัวเขาเองย่อมถูกกำจัดและถูกทำลาย วัจฉะ ผู้ใดห้ามบุคคลอื่นที่ให้ทานอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าทำอันตรายแก่วัตถุ ๓ อย่าง เป็นโจรดักปล้นวัตถุ ๓ อย่าง แต่เราเองกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้ใดเทน้ำล้างภาชนะหรือน้ำล้างขันลงที่หมู่สัตว์ซึ่ง อาศัยอยู่ที่บ่อน้ำครำหรือที่บ่อโสโครกด้วยตั้งใจว่า หมู่สัตว์ที่อาศัยอยู่ในที่นั้นจงเลี้ยง ชีพด้วยน้ำล้างภาชนะเป็นต้นนั้น เรากล่าวกรรมที่มีการเทน้ำล้างภาชนะเป็นต้นเหตุว่า เป็นที่มาแห่งบุญ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงในหมู่มนุษย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๒๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๒๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=222&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=6171 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=6171#p222 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๒๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]