ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๒๒๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๑. พราหมณวรรค ๘. ติกัณณสูตร

วิชชา๑- ได้เกิดขึ้นแก่เธอ เปรียบเหมือนแสงสว่างเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป เพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่ผู้สัตว์กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็น ไปตามกรรมว่า “หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้าย พระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำตามความเห็นผิด พวกเขา หลังจาก ตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้ ทำตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์” เธอ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิด ไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้ เธอได้บรรลุวิชชาที่ ๒ นี้ ความมืดมิดคืออวิชชา เธอกำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือ วิชชา๒- ได้เกิดขึ้นแก่เธอ เปรียบเหมือนแสงสว่างเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป เพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)” “นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย(เหตุเกิดอาสวะ) นี้อาสวนิโรธ(ความดับอาสวะ) นี้อาสว- นิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ)” เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิต ย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า @เชิงอรรถ : @ วิชชา ในที่นี้หมายถึงปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในกาลก่อน @(องฺ.ติก.อ. ๒/๕๙/๑๖๔) @ วิชชา ในที่นี้หมายถึงทิพพจักขุญาณ คือญาณที่สามารถเล็งเห็นหมู่สัตว์ที่เป็นไปต่างๆ กัน เพราะอำนาจ @กรรม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จุตูปปาตญาณ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๙/๑๖๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๒๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๒๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=227&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=6327 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=6327#p227 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๒๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]