ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๒๔๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. มหาวรรค ๓. เวนาคปุรสูตร

และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้ว จึงทรง ประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์เช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง” ต่อมา พราหมณ์และคหบดีชาวเวนาคปุระเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ บางพวกถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกได้สนทนาปราศรัยพอ เป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประนมมือไหว้ไป ทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประกาศชื่อและ โคตรแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกนั่งนิ่งอยู่ ณ ที่สมควร พราหมณ์วัจฉโคตรชาวเวนาคปุระผู้นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระ ภาคดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ อินทรีย์ของท่านพระโคดม ผ่องใสยิ่งนัก พระฉวีวรรณบริสุทธิ์ผุดผ่อง ผลพุทราสุกที่มีในสารทกาล๑- ย่อม บริสุทธิ์ผุดผ่องแม้ฉันใด อินทรีย์ของท่านพระโคดมก็ผ่องใสยิ่งนัก พระฉวีวรรณก็ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่ท่านพระโคดม ผลตาลสุกที่หล่นจากขั้วย่อม บริสุทธิ์ผุดผ่อง แม้ฉันใด อินทรีย์ของท่านพระโคดมก็บริสุทธิ์ผุดผ่อง พระฉวีวรรณก็ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ฉันนั้นเหมือนกัน ทองแท่งชมพูนุท๒- ที่บุตรนายช่างทองผู้ชำนาญ หลอมดีแล้ว ที่นายช่างทองผู้ฉลาดบุดีแล้ว วางไว้บนผ้ากัมพล๓- ส่องแสงประกาย สุกสว่างอยู่ แม้ฉันใด อินทรีย์ของท่านพระโคดมก็ผ่องใสยิ่งนัก พระฉวีวรรณก็ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ฉันนั้นเหมือนกัน ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่คือเตียงมีเท้าเกินประมาณ บัลลังก์๔- ผ้าโกเชาว์๕- เครื่องลาดทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยลวดลาย เครื่องลาด @เชิงอรรถ : @ สารทกาล หมายถึงฤดูใบไม้ร่วง ฤดูสารท เทศกาลทำบุญสิ้นเดือน ๑๐ @ ทองแห่งชมพูนุท หมายถึงทองคำเนื้อบริสุทธ์ (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๔/๑๙๑) ที่เรียกว่า ชมพูนุท เพราะ @เป็นทองที่เกิดชึ้นในแควของแม่น้ำมหาชมพู (องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๖๔/๑๙๙) @ ผ้ากัมพล หมายถึงผ้าทอด้วยขนสัตว์สีแดง (องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๖๔/๑๙๑) @ บังลังก์ ในที่นี้หมายถึงเตียงมีเท้าแกะสลักเป็นรูปสัตว์ร้าย (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙) @ ผ้าโกเชาว์ หมายถึงผ้าที่ทำด้วยขนแพะ หรือขนแกะผืนใหญ่ มีขนยาวเกิน ๔ นิ้ว (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๔๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๔๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=248&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=6975 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=6975#p248 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๔๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]