ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๒๕๗-๒๕๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร

อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบๆ กันมา อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ(การคิดเอาเอง) อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน๑- อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา กาลามะทั้งหลาย เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรมเหล่านี้ เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติ บริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละ (ธรรมเหล่านั้น)เสีย กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โลภะ(ความอยาก ได้) เมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล “ไม่เกื้อกูล พระพุทธเจ้าข้า” “กาลามะทั้งหลาย ก็บุรุษบุคคลผู้มีโลภะนี้ ถูกโลภะครอบงำ มีจิตถูกโลภะ กลุ้มรุม ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวน ผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์บ้างหรือ” “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โทสะ(ความคิด ประทุษร้าย) เมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล” @เชิงอรรถ : @ หมายถึงคาดคะเนตามหลักเหตุผล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๕๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร

“ไม่เกื้อกูล พระพุทธเจ้าข้า” “กาลามะทั้งหลาย ก็บุรุษบุคคลผู้มีโทสะนี้ ถูกโทสะครอบงำ มีจิตถูกโทสะ กลุ้มรุม ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวน ผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์บ้างหรือ” “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โมหะ(ความหลง) เมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล” “ไม่เกื้อกูล พระพุทธเจ้าข้า” “กาลามะทั้งหลาย ก็บุรุษบุคคลผู้มีโมหะนี้ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะ กลุ้มรุม ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวน ผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์บ้างหรือ” “ อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ ธรรมเหล่านี้เป็น กุศลหรืออกุศล” “เป็นอกุศล พระพุทธเจ้าข้า” “เป็นธรรมที่มีโทษหรือไม่มีโทษ” “เป็นธรรมที่มีโทษ พระพุทธเจ้าข้า” “เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียนหรือผู้รู้สรรเสริญ” “เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียน พระพุทธเจ้าข้า” “ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์หรือไม่ หรือท่านทั้งหลายมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร” “ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ข้าพเจ้าทั้งหลายมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๕๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๕๗-๒๕๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=257&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=7245 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=7245#p257 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๕๗-๒๕๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]