ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๒๗๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. มหาวรรค ๗. กถาวัตถุสูตร

๗. กถาวัตถุสูตร
ว่าด้วยเรื่องที่ควรกล่าว
[๖๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ๑- ๓ ประการนี้ กถาวัตถุ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ควรกล่าวถ้อยคำย้อนอดีตกาลว่า “อดีตกาลได้มีอย่างนี้” ๒. ควรกล่าวถ้อยคำมุ่งถึงอนาคตกาลว่า “อนาคตกาลจักมีอย่างนี้” ๓. ควรกล่าวถ้อยคำสืบเนื่องกับปัจจุบันกาลว่า “ปัจจุบันกาลมีอยู่อย่างนี้” ชาวโลกพึงรู้จักบุคคลได้ด้วยการมาร่วมประชุมสนทนากันว่า “ผู้นี้ควรพูดด้วย หรือไม่ควรพูดด้วย” ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา ไม่ตอบโดยนัยเดียวซึ่งปัญหาที่ควร ตอบนัยเดียว ไม่จำแนกตอบซึ่งปัญหาที่ควรจำแนกตอบ ไม่ย้อนถามแล้วจึงตอบ ปัญหาที่ควรย้อนถามแล้วจึงตอบ ไม่พักปัญหาที่ควรพักไว้ เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ ชื่อว่า “ผู้ไม่ควรพูดด้วย” แต่ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา ตอบโดยนัยเดียวซึ่งปัญหาที่ ควรตอบโดยนัยเดียว จำแนกตอบปัญหาที่ควรจำแนกตอบ ย้อนถามแล้วจึงตอบ ปัญหาที่ควรย้อนถามแล้วจึงตอบ พักปัญหาที่ควรพักไว้ เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ชื่อ ว่า “ผู้ควรพูดด้วย” ชาวโลกพึงรู้จักบุคคลได้ด้วยการมาร่วมประชุมสนทนากันว่า “ผู้นี้ควรพูดด้วย หรือไม่ควรพูดด้วย” ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา ไม่ตั้งมั่นอยู่ในฐานะและอฐานะ๒- ไม่ตั้งมั่นอยู่ในปริกัป๓- ไม่ตั้งมั่นอยู่ในเรื่องที่ควรรู้ ไม่ตั้งมั่นอยู่ในเรื่องปฏิบัติ เมื่อ เป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ชื่อว่า “ผู้ไม่ควรพูดด้วย” แต่ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา ตั้งมั่น อยู่ในฐานะและอฐานะ ตั้งมั่นอยู่ในปริกัป ตั้งมั่นอยู่ในเรื่องที่ควรรู้ ตั้งมั่นอยู่ใน เรื่องปฏิบัติ เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ชื่อว่า “ผู้ควรพูดด้วย” @เชิงอรรถ : @ กถาวัตถุ หมายถึงเหตุที่นำมาอภิปราย นำมาเสวนากัน (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๘/๒๐๕) @ ไม่ตั้งมั่นอยู่ในฐานะและอฐานะ หมายถึงไม่ตั้งมั่นอยู่ในสิ่งที่มีเหตุและไม่มีเหตุ (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๘/๒๐๖) @ ไม่ตั้งมั่นอยู่ในปริกัป หมายถึงไม่ตั้งมั่นอยู่ในการถามการตอบปัญหา คือบุคคลผู้เตรียมถามปัญหา เมื่อ @ถูกอีกฝ่ายหนึ่งทักขึ้นก่อนจึงเลี่ยงไปถามปัญหาข้ออื่น และเมื่อถูกถามปัญหาก็ครุ่นคิดที่จะตอบปัญหานั้น @แต่เมื่อถูกอีกฝ่ายหนึ่งทักเข้า จึงเลี่ยงไปตอบปัญหาอื่นอีกเสีย (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๘/๒๐๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๗๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๗๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=270&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=7623 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=7623#p270 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๗๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]