ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๒๘๖-๒๙๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

ปัญญาทั้งของตนและของเทวดาเหล่านั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ อริยสาวกนี้เราเรียกว่า รักษาเทวตาอุโบสถ อยู่ร่วมกับเทวดา และเพราะปรารภเทวดา จิตของเธอจึงผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล (๓ ง) อริยสาวกนั้นย่อมเห็นประจักษ์ว่า “พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการฆ่า สัตว์ คือวางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์ เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือวางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์และ รักษาอุโบสถ พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ คือรับเอาแต่ของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาด จากการลักทรัพย์ ถือเอาแต่ของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็น คนสะอาด อยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตาม พระอรหันต์และรักษาอุโบสถ พระอรหันต์ทั้งหลายละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์๑- คือประพฤติ พรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้านอยู่ตลอดชีวิต แม้เรา ก็ละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจาก เมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้านอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์ แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์และรักษาอุโบสถ พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือพูดแต่คำสัตย์ ดำรงความ สัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลัก น่าเชื่อถือ ไม่หลอกลวงชาวโลกอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละ @เชิงอรรถ : @ พรหมจรรย์ มีความหมายหลายนัย ในที่นี้หมายถึงเมถุนวิรัติ หรือการงดเว้นจากเมถุนธรรม คือกิจ @ของคนคู่ การร่วมประเวณีหรือการเสพสังวาสกัน (ที.สี.อ. ๑๘๙/๑๖๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๘๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

เว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลัก น่าเชื่อถือ ไม่หลอกลวงชาวโลกอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่า ทำตามพระอรหันต์และรักษาอุโบสถ พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย๑- อัน เป็นเหตุแห่งความประมาทอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการเสพของมึนเมา คือสุราและมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์และรักษาอุโบสถ พระอรหันต์ทั้งหลายฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน เว้นขาดจากการฉัน อาหารในเวลาวิกาลอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็บริโภคมื้อเดียว ไม่บริโภคตอนกลางคืน เว้นขาดจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาลอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์และรักษาอุโบสถ พระอรหันต์ทั้งหลายเว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี การดู การละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล และจากการทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยพวง ดอกไม้ ของหอม และเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัวอยู่ตลอด ชีวิต แม้เราก็เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี การดูการละเล่นอัน เป็นข้าศึกแก่กุศล และจากการทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ ของ หอมและเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัวอยู่ตลอดวันหนึ่งและ คืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์และรักษาอุโบสถ พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบนที่นอนต่ำ คือบนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจาก ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบนที่นอนต่ำ คือบนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วย หญ้าอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระ อรหันต์และรักษาอุโบสถ @เชิงอรรถ : @ สุราและเมรัย หมายถึงสุรา ๕ อย่าง คือ (๑) สุราแป้ง (๒) สุราขนม (๓) สุราข้าวสุก (๔) สุราใส่ @เชื้อ (๕) สุราผสมเครื่องปรุง และเมรัย ๕ อย่าง คือ (๑) เครื่องดองดอกไม้ (๒) เครื่องดองผลไม้ @(๓) เครื่องดองน้ำอ้อย (๔) เครื่องดองน้ำผึ้ง (๕) เครื่องดองผสมเครื่องปรุง (ขุ.ขุ.อ. ๑๗-๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๘๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

วิสาขา อริยอุโบสถเป็นอย่างนี้แล อริยอุโบสถที่บุคคลรักษาอย่างนี้แลย่อมมี ผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก อริยอุโบสถมีผลมากเพียงไร มีอานิสงส์มากเพียงไร มีความรุ่งเรืองมาก เพียงไร แผ่ไพศาลมากเพียงไร คือ เปรียบเหมือนพระราชาพระองค์ใดพึงครองราชย์ เป็นอิสราธิบดี(เป็นผู้ ยิ่งใหญ่เหนือกว่าผู้อื่น)แห่งชนบทใหญ่ ๑๖ แคว้นที่สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ เหล่านี้คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะ การครองราชย์ของพระราชาพระองค์นั้นยัง มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ๕๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ๓๐ ราตรี โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๕๐๐ ปีทิพย์โดย ปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึง เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นจาตุมหาราช ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แล ว่า ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ๑๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ๓๐ ราตรีโดย ราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือสตรีหรือบุรุษ บางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงเข้าถึงความ เป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติ ของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ๒๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นยามา ๓๐ ราตรีโดยราตรี นั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๒,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นยามา ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือสตรีหรือบุรุษ บางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงเข้าถึงความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๘๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

เป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นยามา ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของ มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ๔๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นดุสิต ๓๐ ราตรีโดยราตรี นั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๔,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดุสิต ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือสตรีหรือบุรุษ บางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงเข้าถึงความ เป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นดุสิต ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของ มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ๘๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นนิมมานรดี ๓๐ ราตรี โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๘,๐๐๐ ปีทิพย์โดย ปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นนิมมานรดี ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือสตรี หรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงเข้า ถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นนิมมานรดี ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ๑,๖๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ๓๐ ราตรี โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ เป็นไปได้ คือสตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลัง จากตายแล้วพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ข้อนี้เรา กล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์ ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึงงดเว้นจากเมถุนที่เป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ ไม่พึงบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ในเวลากลางคืน ไม่พึงทัดทรงดอกไม้ ไม่พึงลูบไล้ของหอม และพึงนอนบนเตียง บนพื้น หรือบนที่ที่ปูลาดไว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๘๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. มหาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า อุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล ที่พระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดทุกข์ทรงประกาศไว้ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ทั้งสอง งดงามส่องสว่างโคจรไปทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด ก็ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้น กำจัดความมืดไปในอากาศ ทำให้ทิศสว่างไสว ส่องแสงอยู่ในอากาศ ทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด ทรัพย์ คือแก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ ทองสิงคีและทองคำ ตลอดถึงทองชื่อว่าหฏกะ เท่าที่มีอยู่ในสถานที่ประมาณเท่านั้น และแสงจันทร์ หมู่ดาวทั้งหมด ยังไม่ถึงแม้เสี้ยวที่ ๑๖ ของอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ เพราะฉะนั้นแล สตรีหรือบุรุษผู้มีศีล รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ทำบุญที่มีสุขเป็นกำไร ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสวรรค์
อุโปสถสูตรที่ ๑๐ จบ
มหาวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ติตถายตนสูตร ๒. ภยสูตร ๓. เวนาคปุรสูตร ๔. สรภสูตร ๕. เกสปุตติสูตร ๖. สาฬหสูตร ๗. กถาวัตถุสูตร ๘. อัญญติตถิยสูตร ๙. อกสลมูลสูตร ๑๐. อุโปสถสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๙๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๘๖-๒๙๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=286&pages=5&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=8101 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=8101#p286 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๘๖-๒๙๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]