ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๓๐๘-๓๐๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. สมณวรรค ๑. สมณสูตร

เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีจึงได้กล่าวกับท่าน พระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ ถ้าพระศาสดาของท่านทรงมีฤทธิ์อย่างนี้ มีอานุภาพอย่างนี้ ในข้อนี้ท่านได้ประโยชน์อะไร” เมื่อท่านพระอุทายีกล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับท่านพระอุทายี ดังนี้ว่า “อุทายี เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้นๆ ถ้าอานนท์ยังไม่หมดราคะมรณภาพไป อย่างนี้ไซร้ เพราะจิตที่เลื่อมใสนั้น เธอจะครอบครองความเป็นเจ้าแห่งเทวดาในหมู่ เทวดา ๗ ครั้ง จะครอบครองความเป็นมหาราชในชมพูทวีปนี้แล ๗ ครั้ง อุทายี แต่อานนท์จักปรินิพพานในปัจจุบันชาตินี้แล”
จูฬนิกาสูตรที่ ๑๐ จบ
อานันทวรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ฉันนสูตร ๒. อาชีวกสูตร ๓. มหานามสักกสูตร ๔. นิคัณฐสูตร ๕. นิเวสกสูตร ๖. ปฐมภวสูตร ๗. ทุติยภวสูตร ๘. สีลัพพตสูตร ๙. คันธชาตสูตร ๑๐. จูฬนิกาสูตร
๔. สมณวรรค
หมวดว่าด้วยสมณะ
๑. สมณสูตร
ว่าด้วยกิจของสมณะ
[๘๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย กิจที่สมณะควรทำ เป็นของสมณะ ๓ ประการนี้ กิจที่สมณะควรทำ เป็นของสมณะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๐๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. สมณวรรค ๒. คัทรภสูตร

๑. การสมาทานอธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง) ๒. การสมาทานอธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง) ๓. การสมาทานอธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง) กิจที่สมณะควรทำ เป็นของสมณะ ๓ ประการนี้แล เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักมีความพอใจ อย่างยิ่งในการสมาทานอธิสีลสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทานอธิจิตต- สิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา” ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
สมณสูตรที่ ๑ จบ
๒. คัทรภสูตร
ว่าด้วยภิกษุที่ไม่มีไตรสิกขาเปรียบเหมือนลาในฝูงโค
[๘๓] ภิกษุทั้งหลาย ลาติดตามฝูงโคไปข้างหลังร้องว่า “แม้ตัวเราก็เป็นโค แม้ตัวเราก็เป็นโค” แต่มันไม่มีสีเหมือนโค ไม่มีเสียงเหมือนโค ไม่มีรอยเท้าเหมือนโค มันเพียงแต่ติดตามไปข้างหลังเท่านั้น ร้องว่า “แม้ตัวเราก็เป็นโค แม้ตัวเราก็เป็นโค” แม้ฉันใด ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ติดตามไปข้างหลังหมู่ภิกษุ ประกาศ ตนว่า “แม้เราก็เป็นภิกษุ แม้เราก็เป็นภิกษุ” แต่เธอไม่มีความพอใจในการสมาทาน อธิสีลสิกขาเหมือนภิกษุอื่น ไม่มีความพอใจในการสมาทานอธิจิตตสิกขาเหมือนภิกษุอื่น ไม่มีความพอใจในการสมาทานอธิปัญญาสิกขาเหมือนภิกษุอื่น ภิกษุนั้นเพียงแต่ติด ตามไปข้างหลังหมู่ภิกษุ ประกาศตนว่า “แม้เราก็เป็นภิกษุ แม้เราก็เป็นภิกษุ” เท่านั้น เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักมีความพอใจ อย่างยิ่งในการสมาทานอธิสีลสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทาน อธิจิตตสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา” ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
คัทรภสูตรที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๐๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๐๘-๓๐๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=308&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=8749 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=8749#p308 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๐๘-๓๐๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]