ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๓๑๔.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. สมณวรรค ๗. ทุติยสิกขาสูตร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิให้บริบูรณ์ มีปกติ ทำปัญญาพอประมาณ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติเล็กน้อยนี้ เราไม่ กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสมไว้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัวและมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอ จึงเป็นโอปปาติกะ๑- ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิให้บริบูรณ์ มีปกติ ทำปัญญาพอประมาณ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติเล็กน้อยนี้ เราไม่ กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสมไว้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัวและมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำได้เพียงบางส่วนย่อมให้สำเร็จได้บางส่วน ผู้ทำได้ บริบูรณ์ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ด้วยประการฉะนี้แล เรากล่าวว่าสิกขาบททั้งหลาย ไม่เป็นหมันเลย
ปฐมสิกขาสูตรที่ ๖ จบ
๗. ทุติยสิกขาสูตร
ว่าด้วยไตรสิกขา สูตรที่ ๒
[๘๘] ภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ทั้งยังมีเกินขึ้นไปอีกนี้ที่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ปรารถนาประโยชน์ศึกษาอยู่ มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน สิกขา ๓ ประการนี้เป็นที่รวมของสิกขาบท ๑๕๐ นั้นทั้งหมด @เชิงอรรถ : @ โอปปาติกะ ในที่นี้หมายถึงสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ(ตาย)ก็หายวับไปไม่ทิ้งซากศพไว้ @เช่น เทวดาและสัตว์นรก เป็นต้น (เทียบ ที.สี.อ. ๑๗๑/๑๔๙) แต่ในที่นี้หมายถึงพระอนาคามีที่เกิดใน @สุทธาวาส(ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์) ๕ ชั้น มีชั้นอวิหาเป็นต้น แล้วดำรงภาวะอยู่ในชั้นนั้นๆ ปรินิพพาน @สิ้นกิเลสในสุทธาวาสนั่นเองไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗-๘๘/๒๔๒-๒๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๑๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๑๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=314&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=8923 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=8923#p314 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๑๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]