ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๓๑๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. สมณวรรค ๗. ทุติยสิกขาสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติเล็กน้อยนี้ เราไม่ กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสมไว้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัวและมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น ถือปฏิบัติศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอ จึงเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี๑- เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็น สสังขารปรินิพพายี๒- เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอสังขาร- ปรินิพพายี๓- เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี๔- เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอันตราปรินิพพายี๕- อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิให้บริบูรณ์ มีปกติทำปัญญาให้บริบูรณ์ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ออกจาก อาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติเล็ก น้อยนี้ เราไม่กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสมไว้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัวและมีศีลมั่นคงในสิกขาบท เหล่านั้น สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน @เชิงอรรถ : @ อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี หมายถึงพระอนาคามีผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ คือเกิดในสุทธาวาส @ภพใดภพหนึ่งแล้วก็จะเกิดเลื่อนต่อไปจนถึงอกนิฏฐภพแล้วจึงปรินิพพานในภพนั้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๒) @ สสังขารปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้วปรินิพพานโดยต้องใช้ @ความเพียรมาก (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓) @ อสังขารปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้ปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรมาก @(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓) @ อุปหัจจปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้วจวนจะถึงปรินิพพาน คือ @อายุพ้นกึ่งแล้วจวนจะถึงสิ้นอายุจึงปรินิพพาน (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓) @ อันตราปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้ปรินิพพานในระหว่าง คือเกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้ว @อายุยังไม่ถึงกึ่งก็ปรินิพพาน มี ๓ จำพวก คือ พวกที่ ๑ เกิดในสุทธาวาสชั้นอวิหาซึ่งมีอายุ ๑,๐๐๐ กัป @แต่ก็บรรลุพระอรหัตตผลในวันที่เกิด ถ้าไม่บรรลุในวันที่เกิดได้ก็บรรลุไม่เกินภายใน ๑๐๐ กัป พวกที่ ๒ @เมื่อไม่สามารถบรรลุพระอรหัตตผลในวันที่เกิดได้ก็บรรลุไม่เกินภายใน ๒๐๐ กัป พวกที่ ๓ บรรลุพระ @อรหัตตผลไม่เกินภายใน ๔๐๐ กัป (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๑๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๑๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=316&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=8987 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=8987#p316 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๑๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]