ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๔.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๒. นีวรณปหานวรรค

[๑๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้พยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้เหมือนเมตตาเจโตวิมุตติ๑- นี้ เมื่อมนสิการเมตตา เจโตวิมุตติโดยแยบคาย พยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ละได้ (๗) [๑๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้เหมือนความริเริ่ม ความพากเพียร ความบากบั่นนี้ เมื่อปรารภความเพียร๒- แล้ว ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ละได้ (๘) [๑๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้เหมือนความสงบแห่งจิตนี้ เมื่อมีจิตสงบแล้ว อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ (๙) [๒๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้เหมือนโยนิโสมนสิการ(การมนสิการโดยแยบคาย) นี้ เมื่อมนสิการโดยแยบคาย วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ละได้ (๑๐)
นีวรณปหานวรรคที่ ๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ จิต นี้ เรียกว่า เมตตาเจโตวิมุตติ เพราะพ้นจากธรรมที่ไม่ดีทั้งหลายมีนิวรณ์ ๕ คือ กามฉันทะ @พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา เป็นต้น (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗/๔๒) @ ปรารภความเพียร ในที่นี้หมายถึงมีความเพียรที่บริบูรณ์และมีความเพียรที่ประคับประคองไว้สม่ำเสมอ @ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก ไม่ให้จิตปรุงแต่งภายใน ไม่ให้ฟุ้งซ่านภายนอก คำว่า ความเพียร ในที่นี้หมาย @เอาทั้ง ความเพียรทางกาย เช่น เพียรพยายามทางกายตลอดคืนและวัน ดุจในประโยคว่า “ภิกษุใน @ธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอด @วัน” (อภิ.วิ. ๓๕/๕๑๙/๓๐๐) และ ความเพียรทางจิต เช่นเพียรพยายามผูกจิตไว้ด้วยการกำหนดสถานที่ @เป็นต้น ดุจในประโยคว่า “เราจะไม่ออกจากถ้ำนี้จนกว่าจิตของเราจะหลุดพ้นจากอาสวะไม่ถือมั่นด้วย @อุปาทาน” (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๘/๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=4&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=85 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=85#p4 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]