ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๕๔.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๒๐. อมตวรรค

ไพบูลย์ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลุ่มลึก๑- เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง๒- เพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง๓- เพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา เพื่อความเป็นผู้มี ปัญญาว่องไว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง เพื่อความ เป็นผู้มีปัญญาคล่องแคล่ว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม๔- และเพื่อความเป็น ผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ ธรรมอันเป็นเอก นี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา เพื่อความเจริญแห่ง ปัญญา เพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก เพื่อความเป็นผู้ มีปัญญาแน่นหนา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลุ่มลึก เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง เพื่อความ เป็นผู้มากด้วยปัญญา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาว่องไว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคล่องแคล่ว เพื่อความเป็นผู้ มีปัญญาเฉียบแหลม และเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส (๒๒-๓๗)
กายคตาสติวรรคที่ ๑๙ จบ
๒๐. อมตวรรค
หมวดว่าด้วยอมตธรรม
[๖๐๐] ชนเหล่าใดไม่เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่บรรลุอมตธรรม ชนเหล่าใดเจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าบรรลุอมตธรรม (๑) @เชิงอรรถ : @ มีปัญญาไพบูลย์และมีปัญญาลุ่มลึก ในที่นี้หมายถึงมีปัญญาที่ให้ได้รับประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๘๔/๔๗๕) @ มีปัญญาสามารถยิ่ง ในที่นี้หมายถึงได้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา @ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๘๔/๔๗๕) @ มีปัญญากว้างขวาง ในที่นี้หมายถึงมีปัญญาที่หนักหน่วงดุจแผ่นดินสามารถข่มกิเลสทั้งปวงมีราคะเป็นต้น @ได้ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๘๔/๔๗๖) @ มีปัญญาเฉียบแหลม ในที่นี้หมายถึงมีปัญญาที่ละ บรรเทา ดับกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก @และบาปอกุศลธรรม ทำให้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ กรรมที่นำสัตว์ไปสู่ภพ และหมายถึงปัญญาที่รู้ @แจ้งอริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๘๔/๔๗๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๕๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๕๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=54&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=1466 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=1466#p54 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]