ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๗-๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๕. ปณิหิตอัจฉวรรค

[๓๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้สำรวมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้สำรวมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๗) [๓๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้สำรวมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ได้สำรวมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๘) [๓๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้คุ้มครอง ไม่ได้รักษา ไม่ได้สำรวมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้ คุ้มครอง ไม่ได้รักษา ไม่ได้สำรวมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๙) [๔๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้ฝึก ได้คุ้มครอง ได้รักษา ได้สำรวม แล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนจิตนี้ จิตที่ได้ฝึก ได้คุ้มครอง ได้รักษา ได้สำรวมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๑๐)
อทันตวรรคที่ ๔ จบ
๕. ปณิหิตอัจฉวรรค
หมวดว่าด้วยผลแห่งจิตที่ตั้งไว้ผิดและถูก
[๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลย๑- ที่เดือยข้าว๒- สาลีหรือเดือยข้าวเหนียวที่บุคคลตั้งไว้ไม่ตรงจักตำมือหรือเท้าที่ไปกระทบเข้า หรือ ทำให้เลือดออก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตั้งเดือยข้าวไว้ไม่ตรง แม้ฉันใด เป็นไป ไม่ได้เลยที่ภิกษุรูปนั้นมีจิตที่ตั้งไว้ผิดจักทำลายอวิชชา(ความไม่รู้แจ้ง) ให้วิชชา(ความ รู้แจ้ง)เกิดขึ้น ทำนิพพานให้แจ้ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตั้งจิตไว้ผิด ฉันนั้น เหมือนกัน (๑) @เชิงอรรถ : @ เป็นไปไม่ได้เลย หมายถึงปฏิเสธฐานะ(เหตุ) และปฏิเสธโอกาส(ปัจจัย)ที่ให้เป็นไปได้ @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒) @ หมายถึงส่วนปลายของเมล็ดข้าวเปลือก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๕. ปณิหิตอัจฉวรรค

[๔๒] เป็นไปได้ที่เดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวเหนียวที่บุคคลตั้งไว้ตรงจักตำมือ หรือเท้าที่ไปกระทบเข้า หรือทำให้เลือดออก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตั้งเดือยข้าวไว้ ตรง แม้ฉันใด เป็นไปได้ที่ภิกษุรูปนั้นมีจิตที่ตั้งไว้ถูกจักทำลายอวิชชา ให้วิชชาเกิดขึ้น ทำนิพพานให้แจ้ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตั้งจิตไว้ถูก ฉันนั้นเหมือนกัน (๒) [๔๓] เรากำหนดจิต(ของผู้อื่น)ด้วยจิต(ของตน)อย่างนี้แล้วย่อมรู้ชัดบุคคลบาง คนในโลกนี้ผู้มีจิตอันโทสะประทุษร้าย ถ้าบุคคลนี้ตายในสมัยนี้ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตของบุคคลนั้นถูกโทสะประทุษ ร้าย ก็เพราะเหตุที่จิตยังคิดประทุษร้าย สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจึงไป เกิดในอบาย(ภาวะหรือที่อันปราศจากความเจริญ) ทุคติ(ภาวะหรือที่ชั่ว) วินิบาต๑- (ที่อันมีแต่ความร้อนรน) นรก (๓) [๔๔] เรากำหนดจิต(ของผู้อื่น)ด้วยจิต(ของตน)อย่างนี้แล้วย่อมรู้ชัดบุคคลบาง คนในโลกนี้ผู้มีจิตผ่องใส ถ้าบุคคลนี้ตายในสมัยนี้ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์เหมือนได้รับ อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตของเขาผ่องใส ก็เพราะเหตุ ที่จิตผ่องใส สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ (๔) [๔๕] ห้วงน้ำที่ขุ่นมัว ไม่ใสสะอาด เป็นโคลนตม บุคคลผู้มีตาดี ยืนอยู่บนฝั่ง มองไม่เห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้องถ้วยบ้าง ฝูงปลาที่ว่าย ไปและหยุดอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะน้ำขุ่นมัว แม้ฉันใด ภิกษุ รูปนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นไปไม่ได้เลยที่จักรู้ประโยชน์ตน รู้ประโยชน์ผู้อื่น รู้ประโยชน์ทั้งสอง หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ๒- อันวิเศษยิ่ง กว่าธรรมของมนุษย์๓- ด้วยจิตที่ขุ่นมัว๔- ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตขุ่นมัว (๕) [๔๖] ห้วงน้ำที่ไม่ขุ่นมัว ใสสะอาด บุคคลผู้มีตาดียืนอยู่บนฝั่งพึงมองเห็น หอยโข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้องถ้วยบ้าง ฝูงปลาที่ว่ายไปและหยุดอยู่ @เชิงอรรถ : @ ในที่นี้ อบาย ทุคติ วินิบาต ทั้ง ๓ คำนี้เป็นไวพจน์ของนรก (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๓/๕๐) @ ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ หมายถึงมหัคคตโลกุตตรปัญญา(ปัญญาชั้นโลกุตตระที่ถึงความเป็น @ใหญ่)อันประเสริฐ บริสุทธิ์ สูงสุด สามารถกำจัดกิเลสได้ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๔๘/๓๕๐) @ ธรรมของมนุษย์ ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๕/๕๑) @ จิตที่ขุ่นมัว คือจิตที่ถูกนิวรณ์ ๕ ครอบงำ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๕/๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๗-๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=7&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=164 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=164#p7 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๗-๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]