ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๑๓๓-๑๓๔.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. มจลวรรค ๗. ปุตตสูตร

บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน แต่เธอไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกายอยู่ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน และเธอได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกายอยู่ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นอย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยจีวรมาก ไม่มีใครขอร้อง ย่อมใช้สอยจีวรแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงฉันบิณฑบาตมาก ไม่มีใครขอร้องย่อม ฉันบิณฑบาตแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยเสนาสนะมาก ไม่มีใครขอร้อง ย่อมใช้สอยเสนาสนะแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร มาก ไม่มีใครขอร้องย่อมบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารแต่น้อย และเพื่อน พรหมจารีทั้งหลายที่อยู่ด้วยกันย่อมแสดงออกทางกาย วาจา และใจต่อเธอเป็นกิริยา ที่น่าชอบใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่น่าชอบใจเป็นส่วนน้อย น้อมนำเข้าไปแต่สิ่งที่น่าชอบใจ เท่านั้น สิ่งที่ไม่น่าชอบใจมีน้อย เวทนาที่มีดีเป็นสมุฏฐานก็ดี มีเสมหะเป็นสมุฏฐาน ก็ดี มีลมเป็นสมุฏฐานก็ดี เกิดเพราะสันนิบาตก็ดี เกิดเพราะฤดูแปรผันก็ดี เกิดเพราะ การบริหารไม่สม่ำเสมอก็ดี เกิดเพราะความแก่ก็ดี เกิดเพราะผลกรรมก็ดี ส่วนมาก ย่อมไม่เกิดแก่เธอ เธอมีความเจ็บไข้น้อย จึงเป็นผู้ได้ฌาน ๔ ๑- อันมีในจิตยิ่ง๒- ซึ่งเป็น เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ทำให้แจ้ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึง อยู่ในปัจจุบัน บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ ฌาน ๔ ในที่นี้หมายถึงกิริยาการเข้าฌานของพระขีณาสพและพระพุทธเจ้าทั้งหลาย @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๘๗/๓๖๕) @ อันมีในจิตยิ่ง (อาภิเจตสิก) หมายถึงอยู่เหนือกามาวจรจิต (ที.ปา.อ. ๑๖๐/๘๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๓๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. มจลวรรค ๘. สังโยชนสูตร

บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงผู้ใดว่า ‘เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่ สมณะ’ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงเรานั่นแลว่า ‘เป็นสมณะผู้ ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ’ เพราะเรามีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยจีวรมาก ไม่มีใคร ขอร้องย่อมใช้สอยจีวรแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงฉันบิณฑบาตมาก ไม่มีใคร ขอร้องย่อมฉันบิณฑบาตแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยเสนาสนะมาก ไม่มี ใครขอร้องย่อมใช้สอยเสนาสนะแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงบริโภคคิลานปัจจัย- เภสัชชบริขารมาก ไม่มีใครขอร้องย่อมบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารแต่น้อย และพวกภิกษุที่อยู่ด้วยกันย่อมแสดงออกทางกาย วาจา และใจต่อเราเป็นกิริยาที่ น่าชอบใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่น่าชอบใจเป็นส่วนน้อย น้อมนำเข้าไปแต่สิ่งที่น่าชอบใจ เท่านั้น สิ่งที่ไม่น่าชอบใจมีน้อย เวทนาที่มีดีเป็นสมุฏฐานก็ดี มีเสมหะเป็นสมุฏฐาน ก็ดี มีลมเป็นสมุฏฐานก็ดี เกิดเพราะสันนิบาตก็ดี เกิดเพราะฤดูแปรผันก็ดี เกิดเพราะ การบริหารไม่สม่ำเสมอก็ดี เกิดเพราะความแก่ก็ดี เกิดเพราะผลกรรมก็ดี ส่วนมาก ย่อมไม่เกิดแก่เรา เรามีความเจ็บไข้น้อย จึงเป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็น เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ทำให้ แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงผู้ใดว่า ‘เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนใน หมู่สมณะ’ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงเรานั้นแลว่า ‘เป็นสมณะผู้ ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ปุตตสูตรที่ ๗ จบ
๘. สังโยชนสูตร
ว่าด้วยผู้สิ้นสังโยชน์
[๘๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวก๑- ไหนบ้าง คือ @เชิงอรรถ : @ ดู อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๙๐/๒๑๗-๒๑๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๓๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๓๓-๑๓๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=21&page=133&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=3942 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=3942#p133 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๓๓-๑๓๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]