ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๑๔๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๕. อสุรวรรค ๗.ขิปปนิสันติสูตร

บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้สามารถรู้ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทรงจำธรรม ที่ฟังแล้วจำไว้ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม๑- แต่หามีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ อันประกอบด้วย วาจาชาวเมืองที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ไม่ ทั้งไม่ชี้แจงให้ เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ ให้สดชื่นร่าเริง บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อ เกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่สามารถรู้ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ทรงจำ ธรรมที่ฟังแล้วไว้ ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ หารู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ แต่มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำอ่อนหวาน อัน ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ ทั้ง ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ ให้สดชื่นร่าเริง บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง เป็นอย่างนี้แล บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่สามารถรู้ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ทรงจำ ธรรมที่ฟังแล้วไว้ ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ หารู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ และหามีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ อัน ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ไม่ ทั้ง ไม่ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้ อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน เองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม หมายถึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นที่เหมาะแก่โลกุตตรธรรม ๙ @ประการ (คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๙๗/๓๖๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๔๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๔๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=21&page=147&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=4357 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=4357#p147 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๔๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]