ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๑๕๗-๑๕๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

                                                                 ๑. วลาหกวรรค ๓. กุมภสูตร

บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำรามและให้ฝนตก เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ และเขารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ บุคคลเปรียบ เหมือนเมฆที่คำรามและให้ฝนตก เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ ว่าเหมือนเมฆที่คำรามและให้ฝนตก ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบเหมือนเมฆ ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ทุติยวลาหกสูตรที่ ๒ จบ
๓. กุมภสูตร
ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนหม้อ
[๑๐๓] ภิกษุทั้งหลาย หม้อ ๔ ชนิดนี้ หม้อ ๔ ชนิด๑- อะไรบ้าง คือ ๑. หม้อเปล่าแต่ปิดฝา ๒. หม้อเต็มแต่เปิดฝา ๓. หม้อเปล่าและเปิดฝา ๔. หม้อเต็มและปิดฝา ภิกษุทั้งหลาย หม้อ ๔ ชนิดนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน บุคคลเปรียบเหมือนหม้อ ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวก๑- ไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าแต่ปิดฝา ๒. บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มแต่เปิดฝา ๓. บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าและเปิดฝา ๔. บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มและปิดฝา @เชิงอรรถ : @ ดู อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๖๐/๑๙๒-๑๙๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๕๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

                                                                 ๑. วลาหกวรรค ๓. กุมภสูตร

บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าแต่ปิดฝา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส แต่เขา ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี- ปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าแต่ปิดฝา เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนหม้อเปล่าแต่ปิดฝา บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มแต่เปิดฝา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส แต่เขา รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี- ปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มแต่เปิดฝา เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนหม้อเต็มแต่เปิดฝา บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าและเปิดฝา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส และเขา ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี- ปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าและเปิดฝา เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนหม้อเปล่าและเปิดฝา บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มและปิดฝา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส และเขา รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี- ปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มและปิดฝา เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนหม้อเต็มและปิดฝา ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบเหมือนหม้อ ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
กุมภสูตรที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๕๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๕๗-๑๕๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=21&page=157&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=4650 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=4650#p157 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๕๗-๑๕๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]