ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๑๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๑. ภัณฑคามวรรค ๑๐.โยคสูตร

๑๐. โยคสูตร
ว่าด้วยโยคะ
[๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย โยคะ (กิเลสที่ผูกมัดสัตว์ไว้ในภพ) ๔ ประการนี้ โยคะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กามโยคะ ๒. ภวโยคะ ๓. ทิฏฐิโยคะ ๔. อวิชชาโยคะ กามโยคะ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ๑- โทษ๒- และ เครื่องสลัดกามทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดกามทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง ความกำหนัด เพราะกาม ความเพลิดเพลินเพราะกาม ความเยื่อใยเพราะกาม ความหมกมุ่น เพราะกาม ความกระหายเพราะกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความติดเพราะกาม ความอยากเพราะกามย่อมเกิดขึ้นในกามทั้งหลาย๓- นี้เรียกว่า กามโยคะ กามโยคะ เป็นอย่างนี้ ภวโยคะ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ เครื่องสลัดภพทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดภพทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะ ภพ ความเพลิดเพลินเพราะภพ ความเยื่อใยเพราะภพ ความหมกมุ่นเพราะภพ ความกระหายเพราะภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความติด เพราะภพ ความอยาก เพราะภพย่อมเกิดขึ้นในภพทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภวโยคะ กามโยคะและภวโยคะ เป็นอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ คุณ (อสฺสาท) หมายถึงสภาวะที่อร่อย หรือสภาวะที่สุขกายและสุขใจที่เกี่ยวข้องกามคุณ @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๐/๒๘๘, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๐/๒๘๘) @ โทษ (อาทีนว) หมายถึงสภาวะที่ไม่อร่อย มีทุกข์กายและทุกข์ใจ ซึ่งมีกามเป็นเหตุ @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๐/๒๘๘, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๐/๒๘๘) @ กาม ในที่นี้หมายถึงวัตถุกาม (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๐/๒๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=21&page=16&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=444 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=444#p16 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]