ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๒๑๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

                                                                 ๕. อาภาวรรค ๙. สุจริตสูตร

กาล ๔ ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่บุคคลบำเพ็ญโดยชอบ ให้หมุนเวียน ไปตามโดยชอบ ย่อมให้ถึงความสิ้นอาสวะตามลำดับ
ทุติยกาลสูตรที่ ๗ จบ
๘. ทุจจริตสูตร
ว่าด้วยทุจริต
[๑๔๘] ภิกษุทั้งหลาย วจีทุจริต ๔ ประการนี้ วจีทุจริต ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. มุสาวาท (พูดเท็จ) ๒. ปิสุณาวาจา (พูดส่อเสียด) ๓. ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) ๔. สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) ภิกษุทั้งหลาย วจีทุจริต ๔ ประการนี้แล
ทุจจริตสูตรที่ ๘ จบ
๙. สุจริตสูตร
ว่าด้วยสุจริต
[๑๔๙] ภิกษุทั้งหลาย วจีสุจริต ๔ ประการนี้ วจีสุจริต ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัจจวาจา (พูดจริง) ๒. อปิสุณาวาจา (พูดไม่ส่อเสียด) ๓. สัณหวาจา (พูดอ่อนหวาน) ๔. มันตภาสา๑- (พูดด้วยปัญญา) ภิกษุทั้งหลาย วจีสุจริต ๔ ประการนี้แล
สุจริตสูตรที่ ๙ จบ
@เชิงอรรถ : @ มันตภาสา ในที่นี้หมายถึงคำพูดที่กำหนดด้วยปัญญาคือมันตา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๔๙-๑๕๐/๓๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๑๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๒๑๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=21&page=212&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=6289 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=6289#p212 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๑๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]