ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๒๓-๒๔.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. จรวรรค ๓. ปธานสูตร

ถ้าภิกษุผู้กำลังยืน ฯลฯ ถ้าภิกษุผู้กำลังนั่ง ... ถ้าภิกษุผู้กำลังนอน ตื่นอยู่ ปราศจากอภิชฌา พยาบาท ละถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉาได้ ปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่ เป็นสมาธิ ภิกษุแม้กำลังนอน ตื่นอยู่ ผู้เป็นอย่างนี้มีความเพียร มีโอตตัปปะ เราก็เรียกว่า ‘ผู้ปรารภความเพียร อุทิศ กายและใจต่อเนื่องตลอดไป ภิกษุควรเดินสำรวม ยืนสำรวม นั่งสำรวม นอนสำรวม คู้เข้าสำรวม เหยียดออกสำรวม พิจารณาความเกิดและความดับแห่งธรรมขันธ์๑- ทั่วภูมิเป็นที่อยู่ของสัตว์ทั้งชั้นบน ชั้นกลาง และชั้นต่ำ นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกภิกษุเช่นนั้น ผู้ศึกษาข้อปฏิบัติที่สมควรแก่ความสงบใจ มีสติอยู่ทุกเมื่อว่า ‘ผู้อุทิศกายและใจต่อเนื่อง’
สีลสูตรที่ ๒ จบ
๓. ปธานสูตร
ว่าด้วยสัมมัปปธาน
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน (ความเพียรชอบ) ๔ ประการนี้ สัมมัปปธาน ๔ ประการ๒- อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น @เชิงอรรถ : @ ธรรมขันธ์ ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ (คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๒/๒๙๑) @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๐๖/๑๙๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. จรวรรค ๔. สังวรสูตร

๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ ละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ ทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ ความดำรงอยู่ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ ประการนี้แล พระขีณาสพเหล่านั้นมีสัมมัปปธาน ครอบงำบ่วงมาร๑- ได้ อันกิเลสไม่อาศัย ถึงฝั่งแห่งชาติและมรณะ ท่านเหล่านั้นชนะมารพร้อมทั้งเสนามาร เป็นผู้ยินดี ไม่มีความหวั่นไหว และล่วงพ้นซึ่งกองพลมารทั้งหมด ถึงสุข๒- แล้ว
ปธานสูตรที่ ๓ จบ
๔. สังวรสูตร
ว่าด้วยสังวรปธาน
[๑๔] ภิกษุทั้งหลาย ปธาน (ความเพียร) ๔ ประการนี้ ปธาน ๔ ประการ๓- อะไรบ้าง คือ ๑. สังวรปธาน (เพียรระวัง) ๒. ปหานปธาน (เพียรละ) ๓. ภาวนาปธาน (เพียรเจริญ) ๔. อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษา) @เชิงอรรถ : @ บ่วงมารในที่นี้หมายถึงวัฏฏะ ๓ คือ (๑) กิเลสวัฏฏะ (๒) กัมมวัฏฏะ (๓) วิปากวัฏฏะ ที่เรียกว่าบ่วงมาร @เพราะเป็นเหตุให้เกิดกิเลสมาร (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๓/๒๙๑, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๓/๒๙๘) @ สุข ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรสุข (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๓/๒๙๒) @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๐/๓๐๑-๓๐๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๒๓-๒๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=21&page=23&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=666 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=666#p23 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๓-๒๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]