ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๒๓๐-๒๓๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ปฏิปทาวรรค ๔. ปฐมขมสูตร

ไปก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการ นี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ และอินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมปรากฏแก่กล้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏแก่กล้า เธอจึงบรรลุ คุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็ว นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล
อสุภสูตรที่ ๓ จบ
๔. ปฐมขมสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่อดทน สูตรที่ ๑
[๑๖๔] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อักขมา ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ไม่อดทน) ๒. ขมา ปฏิปทา๑- (ข้อปฏิบัติที่อดทน) ๓. ทมา ปฏิปทา๒- (ข้อปฏิบัติที่ข่มใจ) ๔. สมา ปฏิปทา๓- (ข้อปฏิบัติที่ระงับ) อักขมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ด่าโต้ตอบคนที่ด่า โกรธตอบคนที่โกรธ เถียงโต้ ตอบคนที่เถียง นี้เรียกว่า อักขมา ปฏิปทา ขมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ด่าโต้ตอบคนที่ด่า ไม่โกรธตอบคนที่โกรธ ไม่เถียงโต้ตอบคนที่เถียง นี้เรียกว่า ขมา ปฏิปทา @เชิงอรรถ : @ ขมา ปฏิปทา หมายถึงอธิวาสิกปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่อดกลั้นอดทน) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๖๔/๓๘๙) @ ทมา ปฏิปทา หมายถึงอินทริยทมนปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ข่มอินทรีย์ทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย @และใจ) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๖๔/๓๘๙) @ สมา ปฏิปทา หมายถึงอกุสลวิตักกวูปสมนปฏิปทา (ข้อปฏิบัติเพื่อระงับอกุศลวิตก) @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๖๔/๓๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๓๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ปฏิปทาวรรค ๕. ทุติยขมสูตร

ทมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ๑- ไม่แยกถือ๒- ย่อม ปฏิบัติเพื่อความสำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศล- ธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวม จักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะ ทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อความ สำรวมในมนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา และโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ นี้เรียกว่า ทมา ปฏิปทา สมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ยินดีกามวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้สงบ ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ไม่ยินดีพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ... ไม่ยินดี วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้น ... ไม่ยินดีบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก ละ บรรเทา ทำให้สงบ ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี นี้เรียกว่า สมา ปฏิปทา ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล
ปฐมขมสูตรที่ ๔ จบ
๕. ทุติยขมสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่อดทน สูตรที่ ๒
[๑๖๕] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อักขมา ปฏิปทา ๒. ขมา ปฏิปทา ๓. ทมา ปฏิปทา ๔. สมา ปฏิปทา @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๔ (สังวรสูตร) หน้า ๒๕ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๔ (สังวรสูตร) หน้า ๒๕ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๓๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๒๓๐-๒๓๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=21&page=230&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=6834 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=6834#p230 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๓๐-๒๓๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]