ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๒๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. จรวรรค ๔. สังวรสูตร

สังวรปธาน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ๑- ไม่แยกถือ๒- ย่อมปฏิบัติ เพื่อความสำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคือ อภิชฌา (เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) และโทมนัส (ความทุกข์ใจ) ครอบงำได้ จึงรักษา จักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อความสำรวมมนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุ ให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความ สำรวมในมนินทรีย์ นี้เรียกว่า สังวรปธาน ปหานปธาน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ยินดีกามวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ไม่ยินดีพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ฯลฯ ไม่ยินดีวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้น ฯลฯ ไม่ยินดีบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี นี้เรียกว่า ปหานปธาน ภาวนาปธาน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือ ความระลึกได้) ที่อาศัยวิเวก๓- อาศัยวิราคะ๓- อาศัยนิโรธ๓- น้อมไปในโวสสัคคะ เจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเฟ้นธรรม) ... เจริญวิริย- สัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร) ... เจริญปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรม @เชิงอรรถ : @ รวบถือ(นิมิตฺตคฺคาหี มองภาพด้านเดียว) คือ มองภาพรวม โดยเห็นเป็นหญิงหรือเป็นชาย เห็นว่ารูปสวย @เสียงไพเราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสที่อ่อนนุ่ม เป็นอารมณ์ที่น่าปรารถนาด้วยอำนาจฉันทราคะ @(อภิ.สงฺ.อ. ๑๓๕๒/๔๕๖-๔๕๗) @ แยกถือ (อนุพฺยญฺชนคฺคาหี มองภาพ ๒ ด้าน) คือ มองแยกแยะเป็นส่วนๆ ไป ด้วยอำนาจกิเลส เช่น @เห็นมือ เท้า ว่าสวยหรือไม่สวย เห็นอาการยิ้มแย้ม หัวเราะ การพูด การเหลียวซ้ายแลขวา ว่า @น่ารักหรือไม่น่ารัก ถ้าเห็นว่าสวยน่ารักก็เกิดอิฏฐารมณ์ ถ้าเห็นว่าไม่สวยไม่น่ารักก็เกิดอนิฏฐารมณ์ @(อภิ.สงฺ.อ. ๑๓๕๒/๔๕๖-๔๕๗) @ วิเวก (ความสงัด), วิราคะ (ความคลายกำหนัด), นิโรธ (ความดับ) ทั้ง ๓ คำนี้เป็นชื่อเรียกนิพพาน @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๔/๒๙๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๒๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=21&page=25&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=726 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=726#p25 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]