ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๓๖๑-๓๖๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

                                                                 ๕. อาปัตติภยวรรค ๒. อาปัตติภยสูตร

เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ จักพร้อมใจกันทำลายเราเสีย แต่ถ้า แตกแยกกันจักทำลายเราไม่ได้’ ภิกษุผู้เลวทรามเมื่อเล็งเห็นอำนาจ ประโยชน์ที่ ๓ นี้ จึงยินดีการทำลายสงฆ์ ๔. ภิกษุผู้เลวทรามปรารถนาลาภสักการะและชื่อเสียง เธอคิดกังวล อย่างนี้ว่า ‘ถ้าพวกภิกษุจักรู้ว่า เราปรารถนาลาภสักการะและ ชื่อเสียง จักพร้อมใจกันไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เรา แต่ถ้าแตกแยกกันจักสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา’ ภิกษุผู้เลวทราม เมื่อเล็งเห็นอำนาจประโยชน์ที่ ๔ นี้ จึงยินดีการ ทำลายสงฆ์ อานนท์ ภิกษุผู้เลวทราม เมื่อเล็งเห็นอำนาจประโยชน์ ๔ ประการนี้แล จึงยินดีการทำลายสงฆ์”
สังฆเภทกสูตรที่ ๑ จบ
๒. อาปัตติภยสูตร
ว่าด้วยอาปัตติภัย
[๒๔๔] ภิกษุทั้งหลาย อาปัตติภัย (ภัยที่เกิดจากการต้องอาบัติ) ๔ ประการนี้ อาปัตติภัย ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูปเข้าไปตั้งสัญญาในอาบัติปาราชิกทั้งหลายว่า เป็นภัยอย่างแรงกล้า การเข้าไปตั้งสัญญาของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น พึงหวังได้ว่า ‘ผู้ยังไม่ต้องอาบัติปาราชิกก็จักไม่ต้อง หรือผู้ต้องแล้ว จักทำคืนตามสมควรแก่ธรรม๑-’ เปรียบเหมือนพวกราชบุรุษจับ โจรผู้ประพฤติชั่วได้แล้วแสดงแก่พระราชาด้วยกราบทูลว่า ‘ขอเดชะ ชายผู้นี้เป็นโจรผู้ประพฤติชั่วต่อพระองค์ ขอพระองค์จงลงพระ ราชอาญาแก่เขา’ พระราชาจึงรับสั่งอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลายจงไป จงใช้เชือกเหนียวมัดบุรุษนี้เอาแขนไพล่หลังอย่างแน่นหนาแล้วโกนผม @เชิงอรรถ : @ ทำคืนตามสมควรแก่ธรรม หมายถึงสละความเป็นพระภิกษุตามสมควรแก่โทษคืออาบัติปาราชิก @หรือดำรงอยู่ในภูมิสามเณร (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๔๔/๔๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๖๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

                                                                 ๕. อาปัตติภยวรรค ๒. อาปัตติภยสูตร

นำตระเวนไปตามถนนและตรอกพร้อมกับแกว่งบัณเฑาะว์เสียงดัง น่ากลัว นำออกทางประตูด้านทิศใต้แล้วตัดศีรษะทางด้านทิศใต้ แห่งพระนคร’ พวกราชบุรุษใช้เชือกเหนียวมัดบุรุษนั้นเอาแขนไพล่ หลังอย่างแน่นหนาแล้วโกนผม นำตระเวนไปตามถนนและตรอก พร้อมกับแกว่งบัณเฑาะว์เสียงดังน่ากลัว นำออกทางประตูด้าน ทิศใต้แล้วตัดศีรษะทางด้านทิศใต้แห่งพระนคร ในที่นั้นมีชายคน หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควร กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ชายผู้นี้ ทำกรรมชั่ว น่าติเตียน จนต้องถูกตัดศีรษะ พวกราชบุรุษจึงจับ ใช้เชือกเหนียวมัดแขนไพล่หลังอย่างแน่นหนา โกนผม นำตระเวน ไปตามถนนและตรอกพร้อมกับ แกว่งบัณเฑาะว์เสียงดังน่ากลัว นำออกทางประตูด้านทิศใต้แล้วตัดศีรษะทางด้านทิศใต้แห่งพระนคร เขาไม่ควรทำกรรมชั่วร้ายเช่นนี้จนต้องถูกตัดศีรษะเลย’ ๒. ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูปเข้าไปตั้งสัญญาในอาบัติสังฆาทิเสสทั้งหลาย ว่าเป็นภัยอย่างแรงกล้า การเข้าไปตั้งสัญญาของภิกษุหรือภิกษุณี นั้นพึงหวังได้ว่า ‘ผู้ยังไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสสก็จักไม่ต้อง หรือผู้ ต้องแล้วจักทำคืนตามสมควรแก่ธรรม๑-’ เปรียบเหมือนชายนุ่งผ้าดำ สยายผม ห้อยสากไว้ที่คอ เข้าไปในกลุ่มชนแล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้ทำกรรมชั่ว น่าติเตียน ควร แก่การห้อยสาก ท่านทั้งหลายพอใจให้ข้าพเจ้าทำสิ่งใด ข้าพเจ้า จะทำสิ่งนั้น’ ในที่นั้น มีชายคนหนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควร กล่าว อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ชายผู้นี้ได้ทำกรรมชั่ว น่าติเตียน ควรแก่การห้อยสาก เขานุ่งผ้าดำ สยายผม ห้อยสากไว้ที่คอ เข้าไปในกลุ่มชนแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้า @เชิงอรรถ : @ หมายถึงเข้าอยู่ประพฤติวุฏฐานวิธี คือ ระเบียบปฏิบัติสำหรับออกจากครุกาบัติ ในที่นี้หมายเอาอาบัติ @สังฆาทิเสส มีทั้งหมด ๔ อย่าง คือ ปริวาส มานัติ อัพภาน และปฏิกัสสนา @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๔๔/๔๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๖๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๓๖๑-๓๖๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=21&page=361&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=10762 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=10762#p361 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๖๑-๓๖๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]