ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๓๗๓-๓๗๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

                                                                 ๖.อภิญญาวรรค ๔.มาลุงกยปุตตสูตร

๓. ตนเองเป็นผู้มีความตายเป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีความตาย เป็นธรรมดาแล้วย่อมแสวงหานิพพานอันไม่มีความตายซึ่งเป็นแดน เกษมจากโยคะที่ยอดเยี่ยม ๔. ตนเองเป็นผู้มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีความ เศร้าหมองเป็นธรรมดาแล้วย่อมแสวงหานิพพานอันไม่มีความ เศร้าหมองซึ่งเป็นแดนเกษมจากโยคะที่ยอดเยี่ยม ภิกษุทั้งหลาย อริยปริเยสนา ๔ ประการนี้แล
ปริเยสนาสูตรที่ ๒ จบ
๓. สังคหวัตถุสูตร
ว่าด้วยสังคหวัตถุ
[๒๕๖] ภิกษุทั้งหลาย สังคหวัตถุ (ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว) ๔ ประการนี้ สังคหวัตถุ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทาน (การให้) ๒. เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก) ๓. อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์) ๔. สมานัตตตา (การวางตนสม่ำเสมอ) ภิกษุทั้งหลาย สังคหวัตถุ ๔ ประการนี้แล
สังคหวัตถุสูตรที่ ๓ จบ
๔. มาลุงกยปุตตสูตร
ว่าด้วยพระมาลุงกยบุตร
[๒๕๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุงกยบุตรเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดง ธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้วพึงหลีกออกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๗๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

                                                                 ๖.อภิญญาวรรค ๔.มาลุงกยปุตตสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาลุงกยบุตร บัดนี้เราจะกล่าวกับพวกภิกษุหนุ่ม อย่างไร ในเมื่อเธอเป็นคนแก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ขอฟังโอวาทของตถาคตโดยย่อ” พระมาลุงกยบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค โปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรมโดยย่อ ข้า พระองค์จะพึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคได้บ้าง ข้าพระองค์ จะพึงเป็นทายาทแห่งพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคได้บ้าง” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาลุงกยบุตร มีเหตุเกิดแห่งตัณหา ๔ ประการนี้ ที่ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดขึ้นได้ มีเหตุเกิดแห่งตัณหา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดเพราะจีวรเป็นเหตุ ๒. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดเพราะบิณฑบาตเป็นเหตุ ๓. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดเพราะเสนาสนะเป็นเหตุ ๔. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดเพราะปัจจัยที่ดีและดีกว่า๑- มาลุงกยบุตร มีเหตุเกิดแห่งตัณหา ๔ ประการนี้แล ที่ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ ภิกษุย่อมเกิดขึ้นได้ เมื่อใดแล ภิกษุละตัณหาได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูก ตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุนี้เรา เรียกว่า ตัดตัณหาได้แล้ว ถอนสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะละ มานะได้โดยชอบ” ลำดับนั้นแล ท่านพระมาลุงกยบุตรอันพระผู้มีพระภาคทรงสอนด้วยโอวาท นี้แล้วลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจากไป ต่อมา ท่านพระมาลุงกยบุตรหลีกออกไป อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท๒- มีความเพียร @เชิงอรรถ : @ ดูข้อ ๙ (ตัณหุปปาทสูตร) หน้า ๑๕ ในเล่มนี้ (ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๑/๒๐๔) @ ไม่ประมาท ในที่นี้หมายถึงไม่ละสติในกัมมัฏฐาน (ม.ม.อ. ๒/๘๒/๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๗๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

                                                                 ๖.อภิญญาวรรค ๕. กุลสูตร

อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๑- อันเป็นที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญา อันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำ กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” จึงเป็นอันว่าท่าน พระมาลุงกยบุตรได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
มาลุงกยบุตรสูตรที่ ๔ จบ
๕. กุลสูตร
ว่าด้วยตระกูล
[๒๕๘] ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลใดตระกูลหนึ่งถึงความเป็นใหญ่ในโภคทรัพย์แล้ว ย่อมดำรงอยู่ได้ไม่นานเพราะเหตุ ๔ ประการ หรือเหตุใดเหตุหนึ่งบรรดาเหตุ ๔ ประการนั้น เหตุ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ไม่แสวงหาพัสดุที่หายไป ๒. ไม่ซ่อมแซมพัสดุที่เก่าคร่ำคร่า ๓. ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ๔. ตั้งสตรีหรือบุรุษทุศีลให้เป็นใหญ่ในเรือน ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลใดตระกูลหนึ่งถึงความเป็นใหญ่ในโภคทรัพย์แล้วย่อม ดำรงอยู่ได้ไม่นานเพราะเหตุ ๔ ประการนี้ หรือเหตุใดเหตุหนึ่งบรรดาเหตุ ๔ ประการนั้น ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลใดตระกูลหนึ่งถึงความเป็นใหญ่ในโภคทรัพย์แล้วย่อม ดำรงอยู่ได้นานเพราะเหตุ ๔ ประการ หรือเหตุใดเหตุหนึ่งบรรดาเหตุ ๔ ประการนั้น เหตุ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ @เชิงอรรถ : @ ประโยชน์ยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล หรืออริยผลอันเป็นที่สุดแห่งมัคคพรหมจรรย์ @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๕/๗, ม.ม.อ. ๒/๘๒/๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๗๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๓๗๓-๓๗๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=21&page=373&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=11109 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=11109#p373 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๗๓-๓๗๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]