ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๔๕-๔๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. อุรุเวลวรรค ๙. ธัมมปทสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยอริยวงศ์ ๔ ประการนี้ แม้จะอยู่ในทิศ ตะวันออก ก็ครอบงำความไม่ยินดีได้ ความไม่ยินดีครอบงำเธอไม่ได้ แม้จะอยู่ใน ทิศตะวันตก ... แม้จะอยู่ในทิศเหนือ ... แม้จะอยู่ในทิศใต้ ก็ครอบงำความไม่ยินดีได้ ความไม่ยินดีครอบงำเธอไม่ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเธอเป็นนักปราชญ์ ชื่อว่า เป็นผู้ครอบงำความไม่ยินดีและความยินดีได้ ความไม่ยินดีครอบงำนักปราชญ์๑- ไม่ได้ ความไม่ยินดีครอบงำนักปราชญ์ไม่ได้ แต่นักปราชญ์ครอบงำความไม่ยินดีได้ เพราะนักปราชญ์ชื่อว่าผู้ครอบงำความไม่ยินดี ราคะหรือโทสะอะไร จะปิดกั้นบุคคลผู้บรรเทากิเลสแล้ว ผู้ละกรรมทุกอย่างได้เด็ดขาด ใครเล่าจะสามารถติเตียนเขา ผู้เป็นเหมือนแท่งทองชมพูนุท แม้เทวดาและมนุษย์ก็สรรเสริญเขา ถึงพรหมก็สรรเสริญเขา
อริยวังสสูตรที่ ๘ จบ
๙. ธัมมปทสูตร
ว่าด้วยธรรมบท
[๒๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบท๒- ๔ ประการนี้ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน ธรรมบท ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ @เชิงอรรถ : @ นักปราชญ์ ในที่นี้หมายถึงผู้มีความเพียร (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๘/๓๒๔) @ ธรรมบท หมายถึงส่วนแห่งธรรม (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๙/๓๒๕, ที.ปา. ๑๑/๓๑๑/๒๐๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๔๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. อุรุเวลวรรค ๑๐. ปริพพาชกสูตร

๑. อนภิชฌา (ความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) เป็นธรรมบทที่รู้กันว่า ล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบ ล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูก สมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน ๒. อพยาบาท (ความไม่คิดร้าย) เป็นธรรมบท ... ๓. สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) เป็นธรรมบท ... ๔. สัมมาสมาธิ (ความตั้งจิตมั่นชอบ) เป็นธรรมบทที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กัน มานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคย ถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้ รู้คัดค้าน ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบท ๔ ประการนี้แลที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กัน ว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน บุคคลพึงเป็นผู้ไม่มีอภิชฌาอยู่ มีจิตไม่พยาบาท มีสติ มีจิตแน่วแน่ ตั้งมั่นดีอยู่ภายใน
ธัมมปทสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ปริพพาชกสูตร
ว่าด้วยปริพาชก
[๓๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง ราชคฤห์ สมัยนั้นแล ปริพาชกหลายท่านที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกัน อาศัยอยู่ใน ปริพาชการาม ริมฝั่งแม่น้ำสิปปินี คือ อันนภารปริพาชก วธรปริพาชก สกุลุทายี- ปริพาชก และปริพาชกท่านอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกัน ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น๑- เข้าไปยังปริพาชการาม ริมฝั่งแม่น้ำสิปปินี ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสกับปริพาชกเหล่านั้นดังนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ ออกจากที่หลีกเร้น หมายถึงออกจากผลสมาบัติ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๐/๓๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๔๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๔๕-๔๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=21&page=45&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=1324 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=1324#p45 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๕-๔๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]