ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๖๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๔. จักกวรรค ๙. อุชชยสูตร

ได้รับความเดือดร้อน ๑ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพระอรหันต์หรือท่านผู้บรรลุ อรหัตตมรรคย่อมไม่เกี่ยวข้องกับยัญที่มีกิริยาอย่างนั้น พราหมณ์ แต่เราสรรเสริญยัญที่ไม่มีกิริยา คือ นิจทาน๑- และอนุกูลยัญ๒- คือ ยัญที่ไม่มีการฆ่าโค ๑ ยัญที่ไม่มีการฆ่าแพะ แกะ ๑ ยัญที่ไม่มีการฆ่าไก่ สุกร ๑ ยัญที่ไม่ทำให้สัตว์ต่างๆ ได้รับความเดือดร้อน ๑ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพระ อรหันต์หรือท่านผู้บรรลุอรหัตตมรรคย่อมเกี่ยวข้องกับยัญที่ไม่มีกิริยาอย่างนี้” มหายัญที่มีกิริยามากเหล่านั้น คือ อัสวเมธ บุรุษเมธ สัมมาปาสะ วาชเปยยะ นิรัคคละ๓- ไม่มีผลมาก พระอริยะผู้ปฏิบัติชอบ แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ ย่อมไม่เกี่ยวข้องกับยัญ ที่มีการฆ่าแพะ แกะ โค และสัตว์ต่างๆ แต่พระอริยะผู้ปฏิบัติชอบ แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ ย่อมเกี่ยวข้องกับยัญที่ไม่มีกิริยา เอื้ออำนวยประโยชน์ ประชาชนบูชาทุกเมื่อ และไม่มีการฆ่าแพะ แกะ โค และสัตว์ต่างๆ @เชิงอรรถ : @ นิจทาน หมายถึงสลากภัต (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๙/๓๔๐) (สลากภัต คือ อาหารที่ถวายตามสลาก หมายเอา @สังฆภัตอันทายกเข้ากันถวาย ต่างคนต่างจัดมา เป็นของต่างกัน มักทำกันในเทศกาลที่ผลไม้เผล็ดผล @แล้วถวายพระด้วยวิธีจับสลาก) @ อนุกูลยัญ หมายถึงทานที่พึงบูชา พึงให้ตามลำดับตระกูลโดยลำดับ เพราะเป็นทานที่พ่อ ปู่ของพวก @เราถวายมาแล้ว (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๙/๓๔๐) @ คำทั้ง ๕ คำหมายถึงมหายัญ ๕ ประการของพราหมณ์ ได้แก่ อัสวเมธ คือ การฆ่าม้าบูชายัญ, @บุรุษเมธ คือ การฆ่าคนบูชายัญ, สัมมาปาสะ คือ การทำบ่วงแล้วขว้างไม้ลอดบ่วง ไม้ตกที่ไหน @ทำพิธีบูชายัญที่นั้น, วาชเปยยะ คือ การดื่มเพื่อพลังหรือเพื่อชัยชนะ, นิรัคคละ คือ ยัญไม่มีลิ่มหรือ @กลอน, คือ ทั่วไปไม่มีขีดขั้นจำกัด การฆ่าครบทุกอย่างบูชายัญ อนึ่ง มหายัญ ๕ ประการนี้เดิมทีเดียว @เป็นหลักสงเคราะห์ที่ดีงาม แต่พราหมณ์สมัยหนึ่งดัดแปลงเป็นการบูชายัญเพื่อผลประโยชน์ในทางลาภ @สักการะแก่ตน (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๓๙/๓๗๑-๓๗๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๖๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๖๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=21&page=65&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=1937 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=1937#p65 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21



จบการแสดงผล หน้าที่ ๖๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]