ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๑๒๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๓. โยธาชีวรรค ๕. ปฐมโยธาชีวสูตร

ความท้อแท้๑- เสพเมถุนธรรม๒- นี้ชื่อว่าการประหารของข้าศึก สำหรับเธอ เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพที่แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้ เห็นยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้ แต่หวาด สะดุ้งต่อการประหารของข้าศึก บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือ บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๔ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย ๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของ ข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้ อดทน ต่อการประหารของข้าศึกได้ ชนะสงครามแล้ว เป็นผู้พิชิตสงคราม ยึดค่ายสงครามนั้นไว้ได้ อะไรชื่อว่าชัยชนะในสงครามสำหรับเธอ คือ มาตุคามเข้าไปหาภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ไปสู่ป่า ไปสู่โคนไม้ หรือ ไปสู่เรือนว่าง แล้วนั่งทับ นอนทับ ข่มขืน เธอถูกมาตุคามนั่งทับ นอนทับ ข่มขืนอยู่ ไม่พัวพัน แต่ปลดเปลื้อง หลีกออกได้ แล้วหลีก ไปตามความประสงค์ เธอพักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าทึบ๓- ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอไปสู่ป่า ไปสู่โคนไม้ หรือไปสู่เรือนว่าง นั่งคู้บัลลังก์๔- ตั้งกายตรง ดำรง สติไว้เฉพาะหน้า๕- ละอภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา)ในโลก๖- มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา ละความ มุ่งร้ายคือพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูลสรรพสัตว์ อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ (ความหดหู่และความเซื่องซึม) ปราศจากถีนมิทธะ กำหนด @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๕๕ (มาตาปุตตสูตร) หน้า ๙๕ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๕๕ (มาตาปุตตสูตร) หน้า ๙๕ ในเล่มนี้ @ ป่าทึบ หมายถึงป่าที่ไม่มีผู้คนอยู่อาศัย เลยเขตหมู่บ้านไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๑/๓๐) @ นั่งคู้บัลลังก์ หมายถึงนั่งพับขาเข้าหากันทั้ง ๒ ข้าง เรียกว่า นั่งขัดสมาธิ (วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๕) @ ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า หมายถึงตั้งสติกำหนดอารมณ์กัมมัฏฐาน (วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๕) @ โลก ในที่นี้หมายถึงสภาวะที่ต้องแตกสลาย กล่าวคือ อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่ ความถือมั่นรูป เวทนา @สัญญา สังขาร และวิญญาณ ว่าเป็นอัตตาอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ (ที.สี.อ. ๒๑๗/๑๙๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๒๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๒๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=129&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=3672 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=3672#p129 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๒๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]