ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๒๑๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. ราชวรรค ๔. ยัสสังทิสังสูตร

ภิกษุ ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ทรงธรรม เป็น ธรรมราชา ฯลฯ มีธรรมเป็นใหญ่ ครั้นทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครอง ภิกษุทั้งหลายโดยธรรม ภิกษุณีทั้งหลาย ... อุบาสกทั้งหลาย ... อุบาสิกาทั้งหลาย โดยธรรมแล้ว จึงทรงให้ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมหมุนไปโดยธรรมเท่านั้น จักร๑- นั้นอัน สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ให้หมุนกลับไม่ได้”
ธัมมราชาสูตรที่ ๓ จบ
๔. ยัสสังทิสังสูตร
ว่าด้วยทิศที่กษัตริย์ใช้ประทับ
[๑๓๔] ภิกษุทั้งหลาย กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว๒- ทรงประกอบ ด้วยองค์ ๕ ประการ จะประทับอยู่ ณ ทิศใดๆ ก็เหมือนกับประทับอยู่ในแคว้น ของพระองค์เอง องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ กษัตราธิราชในโลกนี้ ๑. ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงมีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายพระมารดาและฝ่าย พระบิดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ๓- ไม่มีใคร จะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล ๒. ทรงเป็นผู้มั่งคั่ง มีพระราชทรัพย์มาก มีพระราชสมบัติมาก มี พระฉางและพระคลัง๔- บริบูรณ์ @เชิงอรรถ : @ จักร ในที่นี้หมายถึงธรรมจักรอันยอดเยี่ยมที่พระพุทธองค์ทรงให้หมุนไปด้วยนวโลกุตตรธรรม ๙ ประการ @อันใครๆ ไม่สามารถให้หมุนกลับได้ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๙) @ มูรธาภิเษก หมายถึงน้ำรดพระเศียรในงานราชาภิเษกหรือพระราชพิธีอื่นๆ (พจนานุกรม ฉบับ @ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕) @ เจ็ดชั่วบรรพบุรุษ หมายถึงวิธีนับลำดับบรรพบุรุษแบบหนึ่ง เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ของวงศ์ตระกูลโดย @นับจากปัจจุบันขึ้นไป ๗ ชั้น (ที.สี.อ. ๓๐๓/๒๕๒-๒๕๓) @ พระฉาง (โกสะ) ในที่นี้หมายถึงกองกำลัง ๔ เหล่า คือ พลช้าง พลม้า พลรถ พลคนเดินเท้า @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๔/๕๒, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๓๔/๕๖) @พระคลัง (โกฏฐาคาร) หมายถึงพระคลัง ๓ ชนิด คือ พระคลังเก็บทรัพย์ พระคลังเก็บข้าวเปลือก @และพระคลังเก็บผ้า (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๔/๕๒, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๓๔/๕๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๑๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๑๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=216&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=6111 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=6111#p216 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๑๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]