ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๒๕๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๑. สัทธัมมวรรค ๖. ตติยสัมธัมมสัมโมสสูตร

๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา๑- ไม่ถ่ายทอดสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้น ล่วงลับไป สูตรก็ขาดรากฐาน ไม่มีที่พึ่งอาศัย นี้เป็นธรรมประการ ที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไปแห่งสัทธรรม ๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นเถระ ผู้มักมาก ย่อหย่อน๒- เป็นผู้นำใน โอกกมนธรรม๓- ทอดธุระในปวิเวก๔- ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึง ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง หมู่คนรุ่นหลังพากันตามอย่างภิกษุเถระเหล่านั้น แม้หมู่คนรุ่นหลังนั้นก็เป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน เป็นผู้นำใน โอกกมนธรรมทอดธุระในปวิเวก ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ ได้ทำให้แจ้ง นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม สูญหายไปแห่ง สัทธรรม @เชิงอรรถ : @ เป็นพหูสูต หมายถึงได้สดับพระพุทธพจน์ หรือได้เล่าเรียนนวังคสัตถุศาสน์(คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙) @เรียนจบคัมภีร์ หมายถึงเรียนจบพระพุทธพจน์คือ พระไตรปิฎก ๕ นิกาย ได้แก่ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย @สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย @ทรงธรรม หมายถึงทรงจำพระสุตตันตปิฎก @ทรงวินัย หมายถึงทรงจำพระวินัยปิฎก @ทรงมาติกา หมายถึงทรงจำพระปาติโมกข์ทั้งสอง คือ ภิกขุปาติโมกข์ และภิกขุณีปาติโมกข์ @(องฺ.ติก.อ. ๒/๒๐/๙๗-๙๘) @ ย่อหย่อน ในที่นี้หมายถึงยึดถือปฏิบัติตามคำสั่งสอนโดยไม่เคร่งครัด (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓) @ โอกกมนธรรม หมายถึงนิวรณ์ ๕ คือ (๑) กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) (๒) พยาบาท (ความคิดร้าย) @(๓) ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) (๔) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) (๕) วิจิกิจฉา @(ความลังเลสงสัย) (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓) @ ปวิเวก หมายถึงอุปธิวิเวก คือความสงัดจากอุปธิ (สภาวะอันเป็นที่ตั้งที่ทรงไว้ซึ่งทุกข์ ได้แก่ กาม กิเลส @เบญจขันธ์ และอภิสังขาร) อีกนัยหนึ่ง หมายถึงนิพพาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๕๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๕๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=256&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=7226 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=7226#p256 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๕๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]