ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๒๙๐-๒๙๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๓. อุปาสกวรรค ๔. เวรสูตร

๔. เวรสูตร
ว่าด้วยภัยเวร
[๑๗๔] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี ดังนี้ว่า คหบดี อุบาสกละภัย๑- เวร๒- ๕ ประการไม่ได้ เราเรียกว่า ‘ผู้ทุศีล’ และเขาย่อม ไปเกิดในนรก ภัยเวร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. การฆ่าสัตว์ ๒. การลักทรัพย์ ๓. การประพฤติผิดในกาม ๔. การพูดเท็จ ๕. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท คหบดี อุบาสกละภัยเวร ๕ ประการนี้แลไม่ได้ เราเรียกว่า ‘ผู้ทุศีล’ และเขา ย่อมไปเกิดในนรก อุบาสกละภัยเวร ๕ ประการได้แล้ว เราเรียกว่า ‘ผู้มีศีล’ และเขาย่อมไปเกิดในสุคติ ภัยเวร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. การฆ่าสัตว์ ๒. การลักทรัพย์ ๓. การประพฤติผิดในกาม ๔. การพูดเท็จ ๕. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท @เชิงอรรถ : @ ภัย หมายถึงสิ่งที่ทำให้จิตสะดุ้ง (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๔/๖๗) @ เวร หมายถึงอกุศลกรรม และบุคคลผู้ก่อเวร (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๔/๖๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๙๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๓. อุปาสกวรรค ๔. เวรสูตร

คหบดี อุบาสกละภัยเวร ๕ ประการนี้แลได้แล้ว เราเรียกว่า ‘ผู้มีศีล’ และเขา ย่อมไปเกิดในสุคติ คหบดี อุบาสกผู้ฆ่าสัตว์ย่อมประสพภัยเวรใดทั้งในภพนี้และภพหน้า เสวย ทุกขโทมนัส๑- ทางใจใดเพราะมีการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย อุบาสกผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ย่อมไม่ประสพภัยเวรนั้นทั้งในภพนี้และภพหน้า ย่อมไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจนั้น ภัยเวรนั้นของอุบาสกผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ย่อมสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้ อุบาสกผู้ลักทรัพย์ ฯลฯ อุบาสกผู้ประพฤติผิดในกาม ฯลฯ อุบาสกผู้พูดเท็จ ฯลฯ อุบาสกผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ย่อม ประสพภัยเวรใดทั้งในภพนี้และภพหน้า เสวยทุกขโทมนัสทางใจใดเพราะมีการ เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทเป็นปัจจัย อุบาสกผู้ เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ย่อม ไม่ประสพภัยเวรนั้นทั้งในภพนี้และภพหน้า ย่อมไม่เสวยทุกขโทมนัสที่เป็นไป ทางใจนั้น ภัยเวรนั้นของอุบาสกผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นเหตุแห่งความประมาท ย่อมสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้ นรชนใดในโลกฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ คบชู้กับภรรยาของผู้อื่น พูดเท็จ และหมกมุ่นในการดื่มสุราและเมรัย๒- นรชนนั้นละเวร ๕ ประการไม่ได้ เราเรียกว่า ‘ผู้ทุศีล’ เขาผู้มีปัญญาทราม ตายไปแล้วย่อมไปเกิดในนรก @เชิงอรรถ : @ ทุกข์ คือทุกข์ที่มีกายประสาทเป็นที่ตั้ง หมายถึงความไม่สบายกายหรือทุกข์ทางกาย @โทมนัส คือ โทมนัสเวทนา หมายถึงความไม่สบายใจหรือทุกข์ใจ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๔/๖๗) @ ดู ขุ.ธ. ๒๕/๒๔๖/๕๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๙๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๓. อุปาสกวรรค ๕. จัณฑาลสูตร

นรชนใดในโลกไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้กับภรรยาของผู้อื่น ไม่พูดเท็จ และไม่หมกมุ่นในการดื่มสุราและเมรัย นรชนนั้นละเวร ๕ ประการได้ เราเรียกว่า ‘ผู้มีศีล’ เขาผู้มีปัญญา ตายไปแล้วย่อมไปเกิดในสุคติ
เวรสูตรที่ ๔ จบ
๕. จัณฑาลสูตร
ว่าด้วยอุบาสกจัณฑาล
[๑๗๕] ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นอุบาสก จัณฑาล เป็นอุบาสกเศร้าหมอง และเป็นอุบาสกน่ารังเกียจ๑- ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ทุศีล ๓. เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว๒- เชื่อมงคล ไม่เชื่อกรรม ๔. แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้ ๕. ทำอุปการะ๓- นอกศาสนาก่อน ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกจัณฑาล เป็นอุบาสกเศร้าหมอง และเป็นอุบาสกน่ารังเกียจ @เชิงอรรถ : @ อุบาสกน่ารังเกียจ ในที่นี้หมายถึงอุบาสกชั้นเลว (อุปาสกปัจฉิมกะ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๕/๖๗) @ ผู้ถือมงคลตื่นข่าว หมายถึงบุคคลผู้ประกอบด้วย (๑) ทิฏฐมงคล (เชื่อว่ารูปเป็นมงคล) (๒) สุตมงคล @(เชื่อว่าเสียงเป็นมงคล) (๓) มุตมงคล (เชื่อว่ากลิ่น รส โผฏฐัพพะเป็นมงคล) กล่าวคือต่างก็มีความเชื่อที่ @แตกต่างกันไปว่า “สิ่งนี้ๆ เป็นมงคล อะไรๆ จักสำเร็จได้ด้วยสิ่งนี้ๆ” (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๕/๖๗) @ ทำอุปการะ ในที่นี้หมายถึงทำกิจที่เป็นกุศลมีการให้ทานเป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๕/๖๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๙๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๙๐-๒๙๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=290&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=8190 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=8190#p290 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๙๐-๒๙๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]