ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๓๔๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๕. พราหมณวรรค ๑๐. นิสสารณียสูตร

๑๐. นิสสารณียสูตร
ว่าด้วยธาตุที่สลัด
[๒๐๐] ภิกษุทั้งหลาย ธาตุ๑- ที่สลัด ๕ ประการนี้ ธาตุที่สลัด ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อมนสิการกามทั้งหลาย๒- จิตของเธอย่อมไม่ แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในกามทั้งหลาย แต่เมื่อเธอ มนสิการเนกขัมมะ๓- จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไป ในเนกขัมมะ จิต๔- นั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว เจริญดี แล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากกามทั้งหลาย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ๕- และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น๖- ซึ่งเกิดขึ้นเพราะกามเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้เรา กล่าวว่าธาตุที่สลัดกามทั้งหลาย ๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อมนสิการพยาบาท จิตของเธอย่อมไม่ แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในพยาบาท แต่เมื่อเธอ มนสิการความไม่พยาบาท จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในความไม่พยาบาท จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดี @เชิงอรรถ : @ ธาตุ หมายถึงสภาวะที่ว่างจากอัตตา (อัตตสุญญสภาวะ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๒) หรือสภาวะที่ @ปราศจากชีวะ ในที่นี้หมายถึงธัมมธาตุและมโนวิญญาณธาตุขั้นพิเศษ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๐/๙๑) @ มนสิการถึงกามทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงเมื่อออกจากอสุภฌาน(เพ่งความไม่งาม)แล้วส่งจิตคิดถึงกามคุณ @เพื่อตรวจดูจิตว่า ‘บัดนี้ จิตเราแน่วแน่ต่อเนกขัมมะหรือไม่ กามวิตกยังเกิดขึ้นอยู่หรือไม่’ เหมือนคนจับงู @พิษเพื่อทดลองดูว่างูมีพิษหรือไม่ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๒, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๐/๙๑) @ เนกขัมมะ ในที่นี้หมายถึงปฐมฌานในอสุภะทั้งหลาย (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๒) @ จิต ในทีนี้หมายถึงอสุภฌานจิต (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๒) @ อาสวะ ในที่นี้หมายถึงอาสวะ ๔ คือ กามาสวะ อาสวะคือกาม ภวาสวะ อาสวะคือภพ ทิฏฐาสวะ อาสวะ @คือทิฏฐิ อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา (สํ.สฬา.อ. ๓/๕๓-๖๒/๑๔, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๘/๑๔๐, @องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๔-๑๖๒) @ ความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น หมายถึงความเร่าร้อนเพราะกิเลสหรือความเร่าร้อนเพราะวิบากกรรมที่ @ก่อความคับแค้นใจ หรือให้เกิดทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจอันเป็นผลมาจากอาสวะ @(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๘/๑๔๐, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๔๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๓๔๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=340&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=9600 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=9600#p340 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๔๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]