ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๔๑๙-๔๒๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๑. อาหุเนยยวรรค ๘. อนุตตริยสูตร

๔. เป็นสัตว์อดทนต่อรส ๕. เป็นสัตว์อดทนต่อโผฏฐัพพะ ๖. เป็นสัตว์สมบูรณ์ด้วยเชาว์(ฝีเท้าเร็ว) ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๖ ประการนี้ เป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขา นำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้อดทนต่อรูป ฯลฯ ๖. เป็นผู้อดทนต่อธรรมารมณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขา นำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ตติยอาชานียสูตรที่ ๗ จบ
๘. อนุตตริยสูตร
ว่าด้วยอนุตตริยะ๑-
[๘] ภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ(ภาวะอันยอดเยี่ยม) ๖ ประการนี้ อนุตตริยะ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทัสสนานุตตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม) ๒. สวนานุตตริยะ (การฟังอันยอดเยี่ยม) @เชิงอรรถ : @ อนุตตริยะ หมายถึงภาวะที่ไม่มีสิ่งอื่นยอดเยี่ยมกว่าหรือวิเศษกว่า หรือเรียกสั้นๆ ว่า ภาวะอันยอดเยี่ยม @นำผลอันวิเศษมาให้ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘-๙/๙๕-๙๖, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๘/๑๐๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๑๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๑. อาหุเนยยวรรค ๙. อนุสสติฎฐานสูตร

๓. ลาภานุตตริยะ (การได้อันยอดเยี่ยม) ๔. สิกขานุตตริยะ (การศึกษาอันยอดเยี่ยม) ๕. ปาริจริยานุตตริยะ (การบำรุงอันยอดเยี่ยม) ๖. อนุสสตานุตตริยะ๑- (การระลึกอันยอดเยี่ยม) ภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้แล
อนุตตริยสูตรที่ ๘ จบ
๙. อนุสสติฏฐานสูตร
ว่าด้วยอนุสสติฏฐาน๒-
[๙] ภิกษุทั้งหลาย อนุสสติฏฐาน ๖ ประการนี้ อนุสสติฏฐาน ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. พุทธานุสสติ (การระลึกถึงพระพุทธเจ้า) ๒. ธัมมานุสสติ (การระลึกถึงพระธรรม) @เชิงอรรถ : @ การเห็นรูป เช่น เห็นพระทศพล และพระภิกษุสงฆ์ด้วยศรัทธาด้วยความรักที่ตั้งมั่น หรือเห็นอารมณ์ @กัมมัฏฐานมีกสิณและอสุภนิมิตเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดความเจริญใจ จัดเป็นทัสสนานุตตริยะ @ส่วนการเห็นสิ่งที่มีค่าอื่นๆ มีช้างแก้ว ม้าแก้ว เป็นต้น หาใช่ทัสสนานุตตริยะไม่ @การได้ฟังการพรรณาคุณพระรัตนตรัยด้วยศรัทธา ด้วยความรักที่ตั้งมั่น หรือการได้ฟังพระพุทธพจน์คือ @พระไตรปิฎกจัดเป็น สวนานุตตริยะ ส่วนการฟังการพรรณนาคุณของบุคคอื่นหาใช่สวนานุตตริยะไม่ @การได้อริยทรัพย์ ๗ อย่าง จัดเป็น ลาภานุตตริยะ ส่วนการได้แก้วมณีเป็นต้น หาใช่ลาภานุตตริยะไม่ @การบำเพ็ญไตรสิกขา (สีล,สมาธิ,ปัญญา) จัดเป็น สิกขานุตตริยะ ส่วนการศึกษาศิลปะอย่างอื่น เช่น @ศิลปะการฝึกช้าง หาใช่สิกขานุตตริยะไม่ @การบำรุงพระรัตนตรัย จัดเป็น ปาริจริยานุตตริยะ ส่วนการบำรุงบุคคลอื่น หาใช่ปาริจริยานุตตริยะไม่ @การระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยจัดเป็น อนุสสตานุตตริยะ ส่วนการระลึกถึงคุณบุคคลอื่น หาใช่อนุสสตา- @นุตตริยะไม่ ดูรายละเอียดในฉักกนิบาตข้อ ๓๐ @อนุตตริยะ ๖ ประการนี้ เป็นทั้งโลกิยะ และโลกุตตระ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘-๙/๙๖, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๘/๑๐๗) @ อนุสสติฏฐาน แปลว่า ‘ฐานคืออนุสสติ’ หมายถึงเหตุคืออนุสสติ กล่าวคือฌาน ๓ @(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๕/๑๑๐, ๒๙/๑๑๒) @อนุสสติ ที่เรียกว่า ‘ฐาน’ เพราะเป็นเหตุให้ได้รับประโยชน์เกื้อกูล และความสุขทั้งในภพนี้และภพหน้า @เช่น พุทธานุสสติ (การระลึกถึงพระพุทธคุณ)ย่อมเป็นเหตุให้บรรลุคุณวิเศษ เพราะเมื่อบุคคลระลึกถึง @พุทธคุณอยู่ ปีติ(ความอิ่มใจ)ย่อมเกิด จากนั้นจึงพิจารณาปีติให้เห็นความสิ้นไปเสื่อมไปจนได้บรรลุ @อรหัตตผล @อนุสสติฏฐานนี้ จัดเป็นอุปจารกัมมัฏฐาน แม้คฤหัสถ์ก็สามารถบำเพ็ญได้ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๕/๑๓๗, @องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๙/๑๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๒๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๑๙-๔๒๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=419&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=11705 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=11705#p419 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๑๙-๔๒๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]