ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๔๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. ปัญจังคิกวรรค ๑๐. นาคิตสูตร

พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้ว จึงประกาศให้ผู้อื่น รู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น๑- มีความงามในท่ามกลาง มีความงาม ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์๒- พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์เช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง” ครั้นคืนนั้นผ่านไป พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละ จึงพากันถือเอา ของเคี้ยวของฉันเป็นอันมากเข้าไปถึงราวป่าชื่ออิจฉานังคละ ได้ยืนชุมนุมกันส่งเสียง อื้ออึงที่ซุ้มประตูด้านนอก สมัยนั้นแล ท่านพระนาคิตะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาครับสั่งเรียกท่านพระนาคิตะมาตรัสถามว่า “นาคิตะ คนพวกไหนส่งเสียง อื้ออึงอยู่นั้น คล้ายพวกชาวประมงแย่งปลากัน” ท่านพระนาคิตะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พราหมณ์และคหบดีชาว บ้านอิจฉานังคละเหล่านั้นพากันถือของเคี้ยวของฉันเป็นอันมากมายืนชุมนุมกันอยู่ที่ ซุ้มประตูด้านนอก เพื่อถวายพระผู้มีพระภาค และภิกษุสงฆ์” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นาคิตะ เราไม่ติดยศ และยศก็ไม่ติดเรา ผู้ใดแลไม่ได้ ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข๓- ปวิเวกสุข อุปสมสุข สัมโพธสุขที่เราได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้ ผู้นั้นชื่อว่ายินดีสุขที่ไม่สะอาด สุขในการนอนหลับ และสุขที่อิงอาศัยลาภสักการะและ การสรรเสริญ” @เชิงอรรถ : @ ธรรมมีความงามในเบื้องต้น หมายถึงศีล ธรรมมีความงามในท่ามกลาง หมายถึงอริยมรรค และธรรม @มีความงามในที่สุด หมายถึงนิพพาน (ที.สี.อ. ๑๙๐/๑๕๙) @ พรหมจรรย์ หมายถึงความประพฤติประเสริฐ มีนัย ๑๐ ประการ คือ ทาน (การให้) เวยยาวัจจะ (การ @ขวนขวายช่วยเหลือ) ปัญจสีละ (ศีลห้า) อัปปมัญญา (การประพฤติพรหมวิหารอย่างไม่มีขอบเขต) เมถุนวิรัติ @(การงดเว้นจากการเสพเมถุน) สทารสันโดษ (ความยินดีเฉพาะคู่ครองของตน) วิริยะ (ความเพียร) @อุโปสถังคะ (องค์อุโบสถ) อริยมรรค (ทางอันประเสริฐ) และศาสนา (พระพุทธศาสนา) ในที่นี้หมายถึงศาสนา @(ที.สี.อ. ๑๙๐/๑๖๐-๑๖๒) @ เนกขัมมสุข หมายถึงสุขเกิดจากบรรพชา(การบวช) @ปวิเวกสุข หมายถึงสุขเกิดจากความสงัดจากอุปธิกิเลสทางกายและใจ @อุปสมสุข หมายถึงสุขในผลสมาบัติที่ให้กิเลสสงบระงับ @สัมโพธสุข หมายถึงสุขในอริยมรรค (ขุ.จู.อ. ๑๔๐/๑๓๓) และดู ม.อุ. ๑๔/๓๒๘/๓๐๐, @ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๔๐/๔๕๑ ประกอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=42&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=1205 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=1205#p42 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]