ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๔๕๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. อนุตตริยวรรค ๒. อปริหานิยสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ชนทั้งหลายบางพวกในอดีตเสื่อมแล้วจากกุศลธรรมทั้งหลาย ชนเหล่านั้นทั้งหมดก็เสื่อมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล ชนทั้งหลายบางพวกในอนาคตจักเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย ชนเหล่านั้น ทั้งหมดก็จักเสื่อมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล ชนทั้งหลายบางพวกในปัจจุบันกำลังเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย ชนเหล่านั้น ทั้งหมดก็เสื่อมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล
สามกสูตรที่ ๑ จบ
๒. อปริหานิยสูตร
ว่าด้วยอปริหานิยธรรม
[๒๒] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม(ธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่ง ความเสื่อม) ๖ ประการนี้ เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ อปริหานิยธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน๑- ๒. ความเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย๒- ๓. ความเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ๓- @เชิงอรรถ : @ ไม่ชอบการงาน ในที่นี้หมายถึงเมื่อพวกภิกษุทำกิจมีการทำจีวร ประคตเอว ผ้ากรองน้ำ ไม้กวาด และ @ผ้าเช็ดเท้าเป็นต้น ภิกษุปฏิเสธกิจเหล่านั้นเสียด้วยศรัทธา อนึ่ง หมายถึงทำกิจเหล่านั้นร่วมกับภิกษุทั้งหลาย @แล้วเรียนอุทเทสในเวลาเรียนอุทเทส สาธยายในเวลาสาธยาย กวาดลานพระเจดีย์ในเวลากวาดลานพระเจดีย์ @มนสิการในเวลามนสิการ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๖-๑๗๗) @ ไม่ชอบการพูดคุย ในที่นี้หมายถึงไม่สนทนาเรื่องเกี่ยวกับบุรุษและสตรีเป็นต้น แต่สนทนาเฉพาะเรื่อง @เกี่ยวกับธรรมในเวลากลางวันกลางคืนให้เป็นประโยชน์ ตอบปัญหาธรรมตลอดวันและคืน พูดน้อย พูดมีที่ @จบ เพราะพุทธพจน์ว่า “ภิกษุผู้นั่งประชุมกันมีหน้าที่ ๒ อย่าง คือ สนทนาธรรม และเป็นผู้นิ่งอย่างพระ @อริยะ” (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๗) และดู ม.มู. ๑๒/๒๗๓/๒๓๕ (ปาสราสิสูตร) @ ไม่ชอบการนอนหลับ ในที่นี้หมายถึงจะยืนก็ตาม จะเดินก็ตาม จะนั่งก็ตาม มีจิตตกภวังค์ เพราะกรช- @กายมีความเจ็บป่วยก็ตาม ก็ไม่ถูกถีนมิทธะครอบงำ เพราะฉะนั้นจึงมีพุทธพจน์ว่า “เรากลับจากบิณฑบาต @หลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว ปูลาดสังฆาฏิ ๔ ชั้น มีสติสัมปชัญญะ หยั่งลงสู่การนอนหลับโดยพระปรัศว์ @เบื้องขวารู้ชัดอยู่” (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๗) และดู ม.มู. ๑๒/๓๘๗/๓๔๕ (มหาสัจจกสูตร) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๕๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๕๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=452&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=12683 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=12683#p452 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๕๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]